homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 
 

การตอบกระืู้ทูู้ืื้ถามของนางเตือนใจ  ดีเทศน์ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เมื่อ 22 กุมภาพันธ์  2550  เวลา  14.35  น.

ก่อนที่จะเรียนถามขออ่านบทบันทึกของชาวบ้านย่าหมีซึ่งได้เขียนบันทึกไว้ในเรื่องราวการอนุรักษ์ของชาวบ้านย่าหมีดังนี้

อ่าวคลองสนเป็นแหล่งหญ้าทะเลประมาณ  2,000  ไร่ ในหญ้าทะเล มีปลิงดำ  ปลิงขาว  แมงดา เห็ดลม  ลูกกุ้งมังกร กุ้งเคย ปลากระเบน  ปลาฉลาม ปลาโลมา เต่าทะเล  ปลาพยูนและนก  ชาวบ้านหากินกันอย่างพอเพียงไม่ต้องพึ่งพาจากแหล่งทรัพยากรที่อื่น  ชาวบ้านย่าหมีส่วนใหญ่มีอาชีพประมง  ทำนา  ทำสวน  และอาชีพพื้นบ้านต่างๆ อยู่กันมา ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย  จนมาถึงวันนี้ก็ไม่เคยมีใครมาทำให้ชาวบ้านลำบากหรือถูกขับไล่ไป  อ่าวคลองสนแห่งนี้เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านทำมาหากินเลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัว  ทั้งยังมีทรัพยากรจากป่าชายเลน  ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นอาหาร  และเป็นสมนุไพรได้หลายชนิด รวมทั้งมีลิงหางยาวเข้ามาอยู่ด้วยเป็นฝูงๆ    เมื่อน้ำแห้งลิงหางยาวก็ออกมาหากินยังป่าชายเลน ถ้าหากเราทำลายสิ่งแวดล้อม เหล่านี้ก็เท่ากับเราทำลายขับไล่มนุษย์ และสัตว์ในหมู่บ้านนี้  ซึ่งชาวบ้านอยู่มาหลายชั่วโครต ไม่เคยมีใครทำแบบนี้  สิ่งที่จะเป็นปัญหากับชาวบ้านก็จะมาจากโครงการพัฒนา  4  โครงการนี้  ชาวบ้านย่าหมีได้รักษาป่าชายเลนถึงเกือบ 3 พันไร่  รักษาหญ้าทะเล   รักษาแนวปะการัง ด้วยแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักศาสนาอิสลาม ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวซึ่งเป็นรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อพ.ศ. 2545  เด็กๆนักเรียนจะนำลอบดักปูดำ มีรายได้ไปโรงเรียน โดยไม่ต้องรบกวนพ่อแม่

เมื่อต้นเดือนมค. 2550  บริษัทเอกชนแห่งนี้ได้นำเครื่องมือจะขึ้นมาที่อ่าวคลองสนเพื่อที่จะดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ชาวบ้านเกือบ 300  คน จึงยกขบวนไปที่ศาลากลางจังหวัดพังงาเพื่อคัดค้านโครงการและยืนยันที่อนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล  แหล่งปะการัง และป่าชายเลน รวมทั้งป่าบนภูเขาด้วย  ซึ่งสื่อมวลชนต่างๆได้นำเสนอข่าวต่อเนื่องเสมอมา

เหตุที่ทำให้มีการขอสร้างสิ่งก่อสร้างล่วงล้ำไปในทะเลนั้น  ที่มาคือมติครมเมื่อวันที่  6  กันยายน  2548  ซึ่งอนุมัติให้อ่าวพังงาเป็นเขตพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวพิเศษหรือ อพท. ตามกลุ่มยุทธศาสตร์  3  จังหวัด คือ ภูเก็ต  พังงา  กระบี่ เป็นต้นตอของโครงการก่อสร้างปัจจัยความสะดวก เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชมความงามของธรรมชาติ  โดยละเลยวิถีชีวิตของชุมชนที่อยู่มาอย่างสงบสุข

ดิฉันจึงของเรียนถามรัฐมนตรีดังนี้

  1. รัฐบาลจะมีการทบทวนการออกใบอนุญาตสิ่งล่วงล้ำลำน้ำทั้ง 4 ฉบับ คือ  สะพานท่าเทียบเรือ  เขื่อนกันคลื่นในทะเลแบบหินทิ้ง   ขุดลอกทราย และพอนทูน-จอดเรือ     ให้บริษัทเอกชนดำเนินการตามโครงการก่อสร้างเหล่านี้  รวมทั้งโครงการที่มีลักษณะอื่นๆในบริเวณรอบอ่าวพังงา เช่นที่แหลมยามู ต.ป่าคลอก  และอ่าวฉลอง   จ.ภูเก็ต  โดยให้มีการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการอย่างละเอียด  และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือไม่

            ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจังหวัดพังงาได้จัดการประชุมคณะทำงานพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ โดยผู้ว่าราชากรจังหวัดพังงาเป็นประธาน  ได้มีมติเป็นเบื้องต้นให้ระงับโครงการนี้ไว้ชั่วคราว  ดิฉันจึงขอเรียนถามคำถามที่ 1  ค่ะ 

รัฐบาล: รัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม   เรียนประธานสภา และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เคารพ  ในคำถาม การออกใบอนุญาตนี้  ทางกระทรวคมนาคมได้มาตรวจสอบแล้วปรากฎข้อเท็จจริงว่า  การอนุญาตขัดกับกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการกำหนดพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ ได้รับธรณีพิบัติจังหวัดกระบี่  จังหวัดตรัง  จังหวัดพังงา  จังหวัดภูเก็ต  จังหวัดระนอง  และจังหวัดสตูล  พ.ศ. 2549    ทางกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี จึงได้มีคำสั่งให้ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้ว  ส่วนในเรื่องการพิจารณาโครงการในลักษณะนี้ ต่อไปก็คงมีการกำหนดกระทรวงไว้แล้วตามกฎกระทรวงฉบับที่ 63    พ.ศ.  2537   การอนุญาตต้องคำนึงถึงหลักผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า การก่อสร้างต้องไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ หรือทางน้ำเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทางเรื่องนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการถอนใบอนุญาตแล้ว ส่วนในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมจะได้ให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

นายเกษม  สนิทวงศ์ ณ. อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม:  ท่านประธานสภา  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ     ในการที่จะทำสิ่งใด ในบริเวณเกาะยาว  เราได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องการกำหนดเขตพื้นที่ที่และมาตรการคุ้มครองพื้นที่ได้รับภัยพิบัติ ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ว่า  มีสึนามิมาเมื่อ 2 ปี ที่แล้ว สืบเนื่อง  จากการดำเนินการประกาศดังกล่าว ได้มีการครอบคลุมกิจกรรมที่เกาะยาวนี้ด้วย    ได้มีการครอบคลุมเกี่ยวกับการขุดลอก พิจารณาการฟื้นฟูและอนุรักษ์หญ้าทะเลที่อยู่ในบริเวณนั้นที่ได้มีการสำรวจกันแล้ว  ออกมาชัดเจนว่า พื้นที่จะทำท่าเทียบเรือ ปรากฎว่ามีทรัพยากรทางทะเลที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นในการประกาศเขตคุ้มครองเนื่องจากภัยพิบัติ ได้ครอบคลุมถึงพื้นที่ดังกล่าวด้วย

ประธานสภา: สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสิทธิ์ตั้งกระทู้ได้เพิ่มเติม   

นางเตือนใจ  ดีเทศน์ : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ดิฉันขอคำยืนยันจากรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม ว่าเป็นการระงับโครงการอย่างถาวรหรือไม่  มีอีก 2 คำถามและอีกหนึ่งข้อเสนอแนะ

  1. รัฐบาลมีนโยบายจะตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่เกาะยาว  จังหวัดพังงา  รวมทั้งในพื้นที่เกาะและชายฝั่งทะเลอื่นๆ  เพื่อไม่ให้ที่ดินสาธารณะต้องตกเป็นของนายทุนและชาวต่างชาติอันเป็น การละเมิดสิทธิของชุมชนท้องถิ่นหรือไม่  ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านย่าหมีได้ดำเนินการยื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ดำเนินการตรวจสอบปัญหาที่ดินในเกาะยาว และกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะมีนโยบาย ทำให้การตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่เกาะยาว  จังหวัดพังงา  รวมทั้งในพื้นที่เกาะและชายฝั่งทะเลอื่นๆ เพื่อไม่ให้ที่ดินสาธารณะตกเป็นของนายทุน และชาวต่างชาติ อันเป็นการละเมิดสิทธิของชุมชนหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ ชาวบ้านย่าหมีได้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม  ได้ดำเนินการไปอย่างมาแล้วอย่างต่อเนื่อง จึงขอเรียนถามรัฐบาลในข้อที่ 2 ว่า รัฐบาลจะมีนโยบายทำให้การตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ในที่ดินในพื้นที่จ.พังงา รวมทั้งในพื้นที่เกาะและชายฝั่งทะเลอื่นๆ ได้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงไปตรงมา และจัดการปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบหรือไม่

           ดิฉันได้เดินทางไปดูพบว่าป่าบนภูเขาถัดจากพื้นที่หาดทรายขึ้นไป  ขณะนี้กำลังถูกถาง   เพื่อนายทุนบริษัทนี้เตรีมการที่แบ่งพื้นที่เป็นแปลงเล็ก แปลงน้อยเพื่อที่จทำรีสอร์ทขาย เนื่องจากถ้าโครงการทั้ง 4 โครงการสำเร็จจะเป็นโครงการสำเร็จรูป คือซื้อที่ดิน ซื้อบ้าน  ซื้อรีสอร์ทได้และจะมีที่จอดเรือส่วนตัว ราคาลำละ 70-80  ล้านบาท  ซึ่งในข้อนี้ประชาชนฝากถามว่ารัฐบาลหวั่นเกรงหรือไม่ว่า       นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาอาจจะเป็นพวกที่ทำผิดกฎหมาย แล้วเข้ามาฟอกเงินในประเทศไทยและยังมาอ้างสิทธิ์ในที่ดิน ที่เคยเป็นของประชาชนด้วย    

ตอบกระทู้ถาม

นายบัญญัติ  จันเสนะ: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ได้รับมอบหมายจากพณฯนายกรัฐมนตรี  เป็นผู้ชี้แจงตอบกระทู้ถาม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ  ในเรื่องนี้เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่ยึดถือแนวปฏิบัติมาเป็นการต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการควบคู่ไปกับ  2 ส่วนด้วยกัน  คือ  การเร่งรัดการออกอกสิทธิ์ให้ประชาชนที่มีเอกสารสิทธิ์อยู่ในที่ดินด้วย  สำหรับข้อมูลโดยทั่วไป  ที่ดินที่สามารถออกเอกสารสิทธ์ได้อยู่ที่ประมาณ  120  ล้านไร่  ขณะนี้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ไปแล้ว ประมาณ 80%  ของที่ดินทั้งหมด   เป็นโฉนดที่ดิน ประมาณ 22 ล้านฉบับ   เป็น นส 3 ก ประมาณ 1 ล้านกว่าฉบับ  เป็นใบจอง และ สก 1 อีก 1 ล้านกว่าฉบับ

ในส่วนของการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ ต.เกาะยาวใหญ่   จ.พังงา นั้น มีข้อมูลทั่วไปในพื้นที่ ต.เกาะยาวใหญ่   มีหนังสือสำคัญที่ดินรวม  5,816  ฉบับ แยกเป็น  สก 1  จำนวน 214  ฉบับ , ใบจอง จำนวน 90  ฉบับ , นส 3 จำนวน  692  ฉบับ ,นส3 ก  จำนวน  3, 499  ฉบับ โฉนดที่ดิน 1,321  ฉบับ

ต่อกรณีที่มีการเสนอข่าวการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ จึงได้มีการตรวจสอบ  ในข้อมูล ผลการตรวจสอบของกรมที่ดิน ปรากฎผล  พบว่ามีการออกนส 3 ก โดยมิชอบ จำนวน  51  แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,170  ไร่  โดยนำ สก. 1 ของที่ดินแปลงอื่น มาสวมเป็นหลักฐานในบริเวณพื้นที่ป่าและภูเขา ซึ่งยังไม่มีการทำประโยชน์  หรือมีการรังวัดขยายเขต นส 3  ก เดิมไปทับที่ดินของผู้อื่น หรือพื้นที่ป่า  ซึ่งจังหวัดพังงาได้ส่งเรื่องนี้ให้กรมที่ดินเพื่อพิจารณาเพิกถอนไปแล้ว  23  แปลง  โดยกรมที่ดินได้สั่งเพิกถอนไปแล้ว 1  แปลง   ส่วนอีก 22  แปลงนั้น ข้อเท็จจริงที่ทางจังหวัดแจ้งยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะดำเนินการเพิกถอนได้ จึงดำเนินการส่งเรื่องให้ทางจังหวัดสอบสวนเพิ่มเติม  ที่เหลืออีก 28  แปลงอยู่ระหว่างการตรวจสอบการดำเนินการของจังหวัด ซึ่งในส่วนนี้ทางกรมที่ดินจะได้ดำเนินการเร่งรัด ในการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อสรุป ที่เป็นข้อเท็จจริง    โดยด่วนต่อไป

ส่วนมาตรการการป้องกันไม่ให้มีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบนั้น กรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดมาตรการที่สำคัญใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. มาตรการการด้านการบริหารนั้นได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันให้มีการตรวจสอบความถูกต้องให้ตรงกับแปลงที่ดินที่ขอออกเอกสารสิทธิ์ กรณีที่มีข้อสงสัยว่าแปลงที่ดินจะตรงกับที่ดินที่ได้ขอออกหรือไม่ให้มีการตรวจสอบหลักฐานที่เหลือยู่ทั้งหมด  ในกรณีที่ไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการนำออกเอกสารสิทธิ์โยชอบหรือไม่ อย่างไร ก็จะมีขั้นตอนการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน  และจะจัดให้มีการออกระเบียบสำนักรัฐมนตรี ว่าด้วยมาตรฐานเกี่ยวกับแผนที่และรูปแผนที่ รูปแปลงที่ดิน เพื่อที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดการออกเอกสารสิทธิ์ เพื่อที่จะได้ไม่มีการทับซ้อนกันในแปลงที่ดิน  ของหน่วยงานอื่นด้วย  ใช้มาตรฐานของแผนที่ทหารในมาตราส่วน 1: 4,000 ของทุกหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเรื่องที่ดินทั้งประเทศ   ในขณะเดียวกันทางกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย   ได้เสนอมาตรการทางกฎหมาย เพื่อนำไปสู่การออกเอกสารสิทธิ์โดยชอบ โดยทางกรมที่ดินได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อนำไปสู่การยกเลิก  สค. 1 ทั้งหมด ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว  คงจะได้นำไปสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากขณะนี้ เอกสาร สค 1 ยังมีหลงเหลือยู่ประมาณ  800,000 กว่าแปลงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจาก สก1 เป็นหลักฐานในการทำประโยชน์ที่ดิน ไม่มีขอบเขตชัดเจน บางทีมีปัญหาเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร  เพื่อที่จะเร่งรัดให้การออกเอกสารสิทธิ์นี้หมดไป ทางกรมที่ดินจึงได้หยิบยกประเด็นนี้เพื่อนำเสนอเป็นกฎหมายที่จะเร่งรัดให้ผู้ครอบครองเอกสารสค 1 ได้เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน นำไปสู่การออกโฉนดที่ดินให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว  หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาไป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด ผู้ที่ครอบครองเอกสารสค 1  ไม่นำเอกสารสค 1 มาออกเอกสารสิทธิ์ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีผลทางกฎหมาย เพื่อให้เกิดการตรวจสอบให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น   
  2. การเสนอแก้กฎหมายเพื่อที่จะมอบอำนาจการพิจารณาเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกไปแล้วโดยมิชอบไปยังผู้ตรวจราชการกรม หรือเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีตำแหน่งระดับ 9 ขึ้นไป ทำหน้าที่ส่วนนี้ควบคู่กันไปด้วย  เพื่อนำไปสู่การเร่งรัด การตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ซึ่งนำไปสู่การพิจารณาเพิกถอนโดยเร็ว   เนื่องจากปัจจุบันนี้โดยกฎหมายแล้ว ได้มอบอำนาจให้แก่อธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งในทางปฏิบัติได้มอบให้รอบอธิบดีเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าปัญหาของการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบนั้น มีปัญหาที่มากพอสมควร ปริมาณงานที่จะเข้ามาดูแลตรวจสอบเพื่อนำไปสู่การหาข้อยุติ ในการเพิกถอนนั้นก็มีมาก  จึงได้เสนอแก้กฎหมายนี้   ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น  แสดงให้เห็นว่าทางรัฐบาล โดยความรับผิดชอบของกรมที่ดินเองมองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะถือว่าที่ดินที่เป็นสาธารณประโยชน์ที่เป็นสมบัติของแผ่นดิน คงไม่สามารถให้ผู้ใดถือสิทธิ์ครอบครองเป็นของผู้หนึ่งผู้ใดได้  ควรที่จะรักษาผลประโยชน์ส่วนนี้ไว้ให้เป็นสมบัติของแผ่นดินสาธารณของแผ่นดิน ซึ่งกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ดูแลเรื่องนี้ โดยให้ความสำคัญมาโดยตลอด  ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ข้าราชการที่ถูกลงโทษทางวินัยถึงขั้นไล่ออกไปแล้วถึง 15  ราย  และที่กำลังอยู่ขั้นตอนพิจารณาทางวินัยอยู่ อีก 40 เรื่อง
  3. รัฐบาลมีแนวทางที่จะขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เรื่อง  กำหนดพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ  จังหวัดกระบี่  จังหวัดตรัง  จังหวัดพังงา  จังหวัดภูเก็ต  จังหวัดระนอง  และจังหวัดสตูล  พ.ศ. 2549  หรือไม่  อย่างไร

ตอบกระทู้ถาม

นายเกษม  สนิทวงศ์ ณ. อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม:   ต่อคำถามของ สมาชิกสภาที่ว่า จะยกเลิกโครงการจะยกเลิกเป็นการถาวรหรือไม่  ขอตอบว่าจะยกเลิกเป็นการถาวร  เพราะจะได้ไม่ขัดกับประกาศของกระทรวง
สำหรับคำถามในข้อที่ 3  นั้น ข้อชี้แจงว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะขยายการบังคับใช้ประกาศกระทรวงหรือไม่นั้น  สำหรับประกาศกระทรวงจะหมดอายุลงในวันที่ 12 เมษายน  2550 นี้  แต่ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในการที่จะกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองในจังหวัดพังงาและกระบี่ ในกรณีของเกาะยาว ก็จะเป็นประกาศของกระทรวงที่เกี่ยวกับจังหวัดพังงา ซึ่งประกาศดังกล่าวจะครอบคลุมปัญหาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน การขุดลอกร่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นหญ้าทะเล  ซึ่งประกาศกระทรวงนี้ได้ผ่านครม เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว   คาดว่าใน  อาทิตย์หน้าคาดจะเตรียมปรกาศเรื่องนี้ได้  พื้นที่ที่อยู่ในประกาศนี้  ทางกระทรงทรัพยากรฯจะต้องดำเนินการพิจารณาฟื้นฟู ในทรัพยากรทางทะเล  โดยเฉพาะป่าชายเลนเรามีแผนที่ชัดเจนในการฟื้นฟู  ป่าชายเลนที่ถูกทำลายไป ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะเน้นแหล่งท่องเที่ยวในแถบทะเลฝั่งอันดามัน

ข้อเสนอแนะ

นางเตือนใจ  ดีเทศน์   :  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ   ข้อมูลในเรื่องของแหล่งหญ้าทะเล  แนวปะการัง  และป่าชายเลน ซึ่งมีน้อยลงไปทุกที ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแนวนโยบายที่จะอนุรักษ์รักษาทรัพยากรในเรื่องต่อไปนี้อย่างไรบ้าง

  1. แนวปะการังซึ่งเป็นระบบนิเวศน์ซึ่งมีความสลับซับซ้อน มีองค์ประกอบหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์นานาชนิด เป็นแหล่งที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ รวมทั้งยังมีความสวยงาม มีคุณค่า จึงมีการใช้ประโยชน์จากแนวประการังอย่างกว้างขวาง  ทั้งในการประมงและการท่องเที่ยว  ขณะนี้พื้นที่แนวประการังในประเทศไทยมีเพียง 95,625 ไร่หรือ 153  ตารางกิโลเมตร อ่าวคลองสนมีแนวปะการัง ยาวถึง 7  กิโลเมตร เป็นหนึ่งใน 153  ตารางกิโลเมตรที่มีอยู่ในประเทศไทย
  2. แหล่งหญ้าทะเล ซึ่งจะเป็นระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเล สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล เป็นอันดับสองรองจากระบบนิเวศน์น้ำกร่อย และมากกว่าระบบนิเวศน์ป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเล เป็นแหล่งวางไข่เลี้ยงตัววัยอ่อน แหล่งหากินและหลบภัยของสัตว์เศรษฐกิจทั้งหลาย รวมทั้งเต่าทะเล และเป็นแหล่งหากินของและพยูน   นอกจากนี้แหล่งหญ้าทะเลยังมีประโยชน์ในการลดความแรงของกระแสคลื่น  ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน   ขณะนี้ประเทศไทยมีแหล่งหญ้าทะเลอยู่พียง 93 พื้นที่   เป็นเนื้อที่เพียง 104  ตารางกิโลเมตร หรือ 65,000 ไร่    ซึ่งหญ้าทะเลที่อ่าวคลอสนมีถึง 3 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 2,000 ไร่   รวมถึงชาวบ้านย่าหมียังได้ร่วมกันรักษาป่าชายเลนไว้ถึง 3,000 ไร่   จากจำนวนป่าชายเลนทั้งหมด 1.5  ล้านไร่ จากข้อมูล ปี  2545 ไม่แน่ใจว่าขณะนี้ป่าชายเลนมีเหลืออยู่เท่าไร

                กระทู้ของดิฉันจึงต้องการที่จะเห็นรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะกระตุ้น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนที่จะรักษามรดกทางธรรมชาติของประเทศและของโลกทั้งแหล่งหญ้าทะเล   แนวประการัง  และป่าชายเลน  และวิถีชีวิตที่สงบสุขตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: