homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 
 

ขี้ปลาวาฬโผล่หาดไม้ขาว

หนังสือพิมพ์เสียงใต้ วันที่  3 ต.ค. 2552

http://www.siangtai.com/upload/newspage1/thumbnail/23694-7246.jpg

ประชาชนบ้านไม้ขาวภูเก็ตเก็บขี้ปลาวาฬได้กว่า100 กิโลกรัมที่ชายหาดไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตขณะที่เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบทันทีพบเป็นของจริง

ประชาชนบ้านใกล้หาดไม้ขาว ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้นำขี้ปลาวาฬ หรืออัมพันที่เก็บได้บริเวณชายหาดเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาให้ผู้สื่อข่าว และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนตรวจสอบ

นางสาวถวิล ทันเพื่อน ประชาชนบ้านหาดไม้ขาว นางเพ็ญศรี ช่วยอักษร บ้านท่าฉัตรไชย อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งประกอบอาชีพเป็นหมอนวดชายหาด กล่าว ว่าเป็นคนแรกที่พบขี้ปลาวาฬถูกคลื่นซัดขึ้นมาบริเวณชายหาดไม้ขาว หาดในทอน และหาดอื่นๆในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา  หลังจากที่พบก็ได้เก็บมาไว้และได้ชวนเพื่อนๆไปเก็บบางคนก็เชื่อว่าเป็นขี้ปลาวาฬหรืออัมพัน แต่บางคนก็ไม่เชื่อ แต่จนถึงขณะนี้มีชาวบ้านเก็บขี้ปลาวาฬมาได้แล้วกว่า 100 กิโลกรัม สำหรับขี้ปลาวาฬที่เก็บมาได้นั้นชาวบ้านเชื่อว่าน่าจะเกิดจากคลื่นลมแรงทำให้คลื่นซัดเข้ามาบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก ซึ่งเมื่อก่อนก็มีพบบ้างแต่จำนวนไม่มากเหมือนครั้งนี้ ส่วนขี้ปลาวาฬที่เก็บได้นั้นต้องการที่จะขายให้กับผู้ที่สนใจซึ่งถ้าขายได้ก็จะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านที่เก็บได้ เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วงที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาน้อย และการพบขี้ปลาวาฬจำนวนมากนั้นคิดว่าเป็นเรื่องปกติไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่จะบ่งบอกว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นนายสุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กล่าว ว่า ขี้ปลาวาฬที่พบนั้นเป็นสิ่งที่ปลาวาฬหัวทุยถ่ายติดมากับอุจจาระเป็นสารประเภทไขมัน หรือ Red tide ที่ปลาวาฬย่อยไม่ได้ พบเฉพาะวาฬหัวทุยเท่านั้น เพราะกินปลาหมึกเป็นอาหารหลักวันละหลาย 100 กิโลกรัม ทำให้มีไขมันมาก แต่ละตัวจะมีขี้ปลาวาฬประมาณ 1 ตัน ถ่ายเป็นประจำ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลาย กลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลชนิดอื่นได้ ในอดีตมีการล่าวาฬชนิดนี้ เพื่อนำไขมันของมันไปสกัดเป็นน้ำหอม ครั้งนี้ที่พบมาก เพราะเป็นช่วงที่คลื่นลมแรง ทำให้พัดขี้ปลาวาฬเข้าสู่ชายฝั่ง เพราะปกติแล้วจะลอยกลางทะเลเท่านั้น เนื่องจากวาฬหัวทุยจะหากินในทะเลลึก ไม่ว่ายเข้าใกล้ฝั่ง ยกเว้นเข้ามาคลอดลูกเท่านั้น ซึ่งตั้งแต่ปี 2516 ถึงปัจจุบันพบซากและตัวเป็นๆของวาฬหัวทุยในทะเลอันดามันจำนวน 13 ตัว

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: