homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 
 

มอแกนร้องผู้ว่าฯ ภูเก็ตธนารักษ์ประกาศทับพื้นที่ป่าช้าชุมชน

หนังสือพิมพ์เสียงใต้  17 มี.ค. 2553

ชุมชนชาวมอแกนยื่นหนังสือผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เรียกร้องคัดค้านการกระทำของกรมธนารักษ์ที่ประกาศทับพื้นที่ป่าช้าชุมชนมอ แกน ม.5 ต.ไม้ขาว จำนวน 9 ไร่เศษ เพื่อยกให้ตำรวจภูธรภาค 8 สร้างสำนักงาน ด้านผู้ว่าฯ สั่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับตัวแทนชาวบ้านหาทางออกของปัญหา

    เมื่อวันที่ 16 มี.ค. เวลา 12.45 น.ตัวแทนชุมชนมอแกน แหลมหลา-หินลูกเดียว ประมาณ 60 คน ได้เดินทางมารัวตัวกันอยู่บริเวณด้านหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อเรียกร้องคัดค้านการกระทำของกรมธนารักษ์ที่ประกาศทับพื้นที่ป่าช้า ชุมชนมอแกน ม.5 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

    โดยอ้างว่าชุมชนมอแกน ซึ่งมีจำนวน 114 ครัวเรือน ได้มีการใช้ประโยชน์จากป่าป้ามาอย่างต่อเนื่องยาวนานจากในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในการฝังศพญาติผู้เสียชีวิต และเมื่อปี พ.ศ.2510 นายอำเภอถลางสมัยนั้นบอกให้ชาวมอแกนสำรวจรังวัดพื้นที่ป่าช้าทั้งหมดมี ประมาณกี่ไร่ ชาวบ้านประมาณ 30 คน ได้ไปสำรวจรังวัดเนื้อที่ทั้งหมด 75 ไร่โดยประมาณ ต่อมาชาวบ้านนอกพื้นที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าช้า จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ป่าช้าเหลือประมาณ 17 ไร่ และชาวบ้านชุมชนมอแกนได้ยกพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับมูลนิธิกุศลธรรมเพื่อใช้ เป็นหลุมฝังศพสุสานสึนามิ

    แต่ปัจจุบันกรมธนารักษ์เข้าไปสำรวจรังวัดและได้กันพื้นที่ ป่าช้าตามแผนที่ของกรมธนารักษ์จำนวน 9 ไร่ให้กับชุมชนมอแกน แต่ส่วนที่เหลือยกให้กับสำนักงานตำรวจภูธรภาค 8 ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิชุมชนอย่างรุนแรง โดยมองไม่เห็นคุณค่าของชุมชนที่มีทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ไม่ได้มีการแจ้งกล่าว แจ้งเป็นหนังสือให้กับชาวมอแกนรับทราบ ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำของกรมธนารักษ์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นขาดการมีส่วนร่วมกับชุมชน จนก่อให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ป่าช้า จากปัญหาข้างต้นจึงได้มีการรวมตัวกันของตัวแทนชาวมอแกน แหลมหลา-หินลูกเดียว เพื่อเรียกร้องคัดค้านการกระทำของกรมธนารักษ์ที่ประกาศทับพื้นที่ป่าช้า ชุมชนมอแกน ม.5 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

    โดยขอให้กรมธนารักษ์ยกเลิกการสำรวจรังวัดเนื้อที่ 9 ไร่เศษ ออกจากป่าช้าอย่างเร่งด่วน ขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องลงมาสำรวจรังวัดเนื้อที่ป่าช้าที่เหลืออยู่ทั้งหมด โดยประมาณ 17 ไร่อย่างเร่งด่วน ให้ออกหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าช้าเป็นสาธารณะประโยชน์ของ ชุมชน

    ทั้งนี้ในข้อเรียกร้อง ข้อเสนอทั้งหมดนั้นทางตัวแทนชาวบ้านขอให้ทางจังหวัดสั่งการให้หน่วยงาน เกี่ยวข้องเร่งดำเนินงานอย่างเร่งรีบที่สุดภายใน 15 วัน

    ทางด้านนายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวชี้แจง ทำความเข้าใจกับตัวแทนชาวบ้านว่า การอนุญาตให้ตำรวจภูธรภาค 8 ใช้สถานที่สำหรับก่อสร้างนักงานตำรวจภูธรภาค 8 นั้นเป็นขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่ทางผู้มีอำนาจอนุญาตให้ทางตำรวจใช้ไป ฉะนั้นการแก้ปัญหา ถ้าจะให้ขีดเส้นตายว่าต้องเสร็จวันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้คงเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หรือง่ายที่จะแก้ปัญหาโดยตนจะตั้งคณะทำงานขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต ตำรวจภูธรภาค 8 และจะให้มีผู้แทนชาวบ้านชุมชนมอแกนเข้ามาเป็นผู้ประสานงานในการลงไปประชุมใน พื้นที่ ภายใน 2-3 วันนี้ เพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และถ้ามีเวลาตนก็จะลงไปประชุมร่วมกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วย

 

ชาวบ้านค้านธนารักษ์ยกที่ดินชุมชนมอแกนให้ตำรวจภาค 8

จากสำนักข่าวไทย

ภูเก็ต 16 มี.ค.- ชาวมอแกน หรือชาวไทยใหม่ บ้านแหลมหลา-หินลูกเดียว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ประมาณ 60 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ที่ศาลากลางจังหวัด คัดค้านกรณีกรมธนารักษ์มอบพื้นที่บางส่วนซึ่งชาวบ้านอ้างว่าเป็นที่ป่าช้า ซึ่งชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันมานานแล้ว ให้ตำรวจภูธรภาค 8 ใช้สร้างอาคารสำนักงาน ชาวบ้านระบุว่า เมื่อปี 2510 นายอำเภอถลาง และชาวมอแกน ได้ร่วมกันสำรวจรังวัดพื้นที่ป่าช้า พบว่ามีจำนวน 75 ไร่โดยประมาณ แต่ต่อมามีชาวบ้านบางส่วนเข้าไปบุกรุก ทำให้พื้นที่ป่าช้าเหลืออยู่ 17 ไร่ และชาวบ้านได้ยกพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับมูลนิธิกุศลธรรม เพื่อใช้เป็นหลุมฝังศพผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิ แต่ล่าสุดกรมธนารักษ์เข้าไปสำรวจรังวัด และได้กันพื้นที่ป่าช้าให้กับชุมชนมอแกนเพียง 9 ไร่เท่านั้น ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 8 ไร่ ได้มอบให้กับตำรวจภูธรภาค 8 เพื่อใช้สร้างสำนักงาน การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิชุมชนอย่างรุนแรง เพราะไม่มีการแจ้งเป็นหนังสือให้ชาวบ้านรับทราบ ชาวมอแกนจึงขอคัดค้านการกระทำของกรมธนารักษ์ และขอเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องทำการสำรวจรังวัดเนื้อที่ป่าช้าทั้งหมดใหม่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดรับปากจะตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต ตำรวจภูธรภาค 8 และผู้แทนชาวบ้าน เข้าไปสำรวจพื้นที่ภายใน 2-3 วันนี้.

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: