จับตา DSI กับการแก้ไขปัญหาบุกรุกป่าไม้ที่ดินของรัฐ (จบ)
ภูเก็ตโพสต์ ฉบับวันที่ 1-15 มีนาคม 53
เราต้องไปสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีบทบาท โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นราษฎรอาสา ซึ่งช่วยงานราชการช่วยงานแผ่นดิน ควรจะมีมาตรการดูแลคุ้มครอง เรื่องนโยบายของภาครัฐที่ชัดเจนและครอบคลุมในทิศทางที่ถูกต้องร่วมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการช่วยดูแลทรัพยากรในท้องถิ่นของเรา
ผศ.ดร.วีระภาส คุณรัตนสิริ ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ในส่วนของภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมส่วนใหญ่จะนำไปใช้ตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนภาคพื้นดิน คนจะเริ่มสับสนระหว่างภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียมเราจะใช้อะไรระหว่างกรณีอะไรบ้าง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ดาวเทียมพัฒนาสามารถตรวจจับพื้นที่ที่มีขนาดจำนวน 1 ไร่ได้ ภาพถ่ายดาวเทียมจะสามารถบอกถึงลักษณะที่เป็นปัจจุบัน ภาพถ่ายทางอากาศเรามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการถ่ายทำประมาณปี 2490 ซึ่งเพียงพอต่อการนำไปใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ความเป็นจริงว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต งานภาพถ่ายทางอากาศยากอย่างหนึ่งคือ เราทำงานกับอดีตและสิ่งที่ทุกท่านบอกว่านายทุนบุกรุกนั้นเค้าลืมไปอย่างหนึ่งว่าเหนือฟากฟ้า มีการถ่ายทำอยู่หลักฐานชิ้นนี้มีการเก็บต้นฉบับไว้ที่กรมแผนที่ทหาร ซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ถ้ามีการบิดเบือนจากต้นฉบับนั้นทำไม่ได้
นายแสงชัย รัตนเสรีย์วงศ์ ทนายความที่ทำคดีช่วยเหลือประชาชน กล่าวว่า ผู้ที่มาร่วมรับฟังก็เป็นจำเลยข้อหาบุกรุกข้อหา ข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ถูกใครฟ้องก็คือเจ้าของที่ไปออกเอกสารสิทธิตรงนี้แสดงให้เห็นถึงสภาพทางสังคมที่ไม่ดีสิ่งหนึ่งผู้ที่หายกลับกลายเป็นจำเลย กฎหมายเขียนบอกว่าสิทธิอำนาจหน้าที่ในการดูแลคือหน่วยงานรัฐทั้งสิ้นไม่เห็นมีตรงไหน เขียนไว้ว่าเป็นหน้าที่ของชุมชนหรือของประชาชน แทนที่ผู้เสียหายจะได้รับการอุปถัมภ์สนับสนุนปกปักพิทักษ์จากหน่วยงานรัฐ แต่เปล่าเลยกลับกลายมาเป็นจำเลย บางคนติดคุกไปแล้วก็มีบางพื้นที่ถูกหน่วยงานรัฐเรียกร้องค่าทำให้โลกร้อนก็มี แทนที่จะไปคิดที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด กลับมาคิดกับคนปลูกยางเราจะต้องปฎิรูประบบยุติธรรมและ ปฎิรูประบบราชการมันถึงจะเป็นทางออกของปัญหา
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ อนุกรรมการสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กล่าวว่า ปัญหาที่ชุมชนร้องเรียนไม่ได้ร้องเรียนสิทธิของชาวบ้านหรือสิทธิของใครคนหนึ่ง เวลาร้องไปก็ร้องในนามสิทธิชุมชนคือเราจะลงไปดูว่าโฉนดอยู่ตรงไหน นส3. อย่างกรณีบ้านย่าหมี รถไถยังจอดคาอยู่เลยแต่ก็บอกทำประโยชน์ในที่ดิน มะพร้าวก็ปลูกยังเป็นมะพร้าวรุ่นอยู่เลย กล้วยทั้งต้นก็ปลูก 3-4 วัน มันก็ไม่ได้ทำประโยชน์ตามกฎหมายที่ดิน เวลาเราตรวจสอบเราก็ไปดูพื้นที่เลยในเชิงประจักว่ามีการทำประโยชน์ตรงไหนบ้าง เวลาสอบเราก็ถามจากชุมชนบ้างว่าใครอายุแค่ไหนไหนลองไปชี้ดูว่าเป็นยังไงผมว่าในอนุกรรมการสิทธิ เขียนรายงานเสร็จก็ส่งไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวของให้เพิกถอน ถ้าไม่เพิกถอนปัจจุบันผมคิดว่าอำนาจของกรรมการสิทธิมีสิทธิฟ้องร่วมกับชาวบ้านได้ด้วย ไม่มีชุมชนไหนเรียนร้องที่ดินให้กลับมาเป็นของตนเองแต่เป็นการเรียนร้องเพื่อให้กับมาเป็นที่สาธารณะอย่างเดิม
จะเห็นว่ากระบวนการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินที่เป็นรัฐและเอกชนนั้น กระทำเพียงลำพังหน่วยงานเดียวไม่ได้ หลายฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนต้องช่วยกันบวกกับหลักฐานเชิงประจักษ์และหลักฐานอื่นๆ ประกอบกันผู้กระทำความผิดก็ดิ้นไม่หลุด ...แต่ถ้าหากจะดิ้นหลุดผู้นั้นก็คงเงยหน้าสู้ฟ้า ก้มหน้าสู้ดิ้นไม่ได้
#
เห็นเมื่อเอาเรื่องราวของแต่ละคนมาเรียงต่อกัน เหมือนกับการต่อจิ๊กซอ ภาพปัญหาต่างๆ ที่อยู่รายล้อมรอบตัวเราต่างเชื่อมโยงถึงกัน
เวทีสาธารณะถึงช่วงสำคัญ ยังไม่จบเพียงแค่นี้ โปรดอ่าต่อฉบับหน้า
สุจารี ไชยบุญ
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน |