เอ็นจีโอเรียกร้ององค์กรภาคประชาชนจับตามองคำสั่งย้ายรองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเป็นรองอธิบดีกรมที่ดิน
มติชนออนไลน์ 10 เมษายน 2554
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2554 นี้ นายธนู แนบเนียน ผู้อำนวยการการองค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) อนุกรรมการฐานทรัพยากรที่ดิน คณะกรรมการปฎิรูปการเมือง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การแต่งตั้งโยกกย้ายในกระทรวงมหาดไทย เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นรองอธิบดี กรมที่ดิน และ ย้ายนายธานี ปลุกเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ถือว่าการย้ายนอกฤดูการในครั้งนี้ไม่น่าจะเป็นการย้ายธรรมดา ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งว่างก็ตามแต่การย้ายมีผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการที่ดินและผู้ติดตามการบริหารราชการระดับสูงของพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน วิพากษ์กันต่างๆ นานา และนอกจากนั้นยังมีการตั้งข้อสังเกตุว่าทำไม บุคลากรของกรมที่ดินจึงมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดพังงา อยู่หลายช่วงหลายยุค อย่างเช่นนายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลย์วุฒิ อธิบดีกรมที่ดินคนปัจจุบัน ก่อนจะเป็นอธิบดีกรมที่ดิน ก็เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงามาก่อน เช่นเดี่ยวกับนายวิชัย ไพรสบง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในอดีตก่อนที่จะได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาในเมื่อ ประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ก็เป็นรองอธิบดีกรมที่ดินมาก่อน
นายธนู กล่าวอีกว่าจากฐานข้อมูลพบว่า ทั้งนายธานี และนายวรพจน์ จะเกษียณอายุ ในวันที่ 30 กันยายน 2554 นี้ ซึ่งมีเวลาในการทำงานจริงเพียง 5-6เดือนเท่านั้น และหากมองว่าพิจารณาจากอาวุโส แล้วทำไม ไม่แต่งตั้งนายสุรพล วิชัยดิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ที่เป็นรองผู้ว่าราชการมาแล้ว 7 ปี ขณะที่นายวรพจน์ ไม่ใช้อาวุโสอันดับ 1 ของกระทรวงมหาดไทย และหากดูเส้นทางการรับราชการของนายวรพจน์ แล้ว มีเหตุอันน่าสงสัยว่า ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการน่าจะได้รับใบสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งจากแก่นนำรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจในรัฐบาลให้ดำเนินการอย่างใด อย่างหนึ่งเกี่ยวกับที่ดิน หรือไม่ เนื่องจาก ปัจจุบันที่ดินเป็นสินค้าที่มีราคาและทำกำไรให้กับเจ้าของได้จำนวนมหาศาล และขณะเดียวกันก็พบข้อมูลว่า กรมที่ดินพยายามที่จะออกเอกสารสิทธิ์ให้กับกลุ่มการเมือง กลุ่มหนึ่ง เป็นเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดเพ็รชบูรณ์ ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็มีข่าวการออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินป่าถาวรในพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่ ของบริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอเมือง กะปง และ ตะกั่วป่า จึงขอเรียกร้องให้องค์กรเอกชนทั่วประเทศช่วยกันจับตามอง และที่สำคัญช่วงที่ผ่านมาก็มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาคนหนึ่ง เป็นประธานการพิจารณาให้ผู้บุกรุกที่ดินรัฐเช่าที่ดินรัฐซึ่งขัดกับนโยบายในการแกปัญหาบุกรุกที่ดินรัฐ
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยของธนาคารกสิกรไทยรายงานออกมาว่า ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันมีแน้วโน้นราคาที่ดินจะสูงขึ้นเรื่อย และ เป็นพื้นที่ที่มีราคาที่ดินสูงที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบว่า ปัจจุบันนี้ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันเกิดอาชีพใหม่สำหรับอดีตข้าราชการกรมที่ดิน คือรับจ้างไปเบิกความต่อศาล ซึ้งบางคดีก็นำข้อมูลไม่ครบถ้วนไปเบิกความสนับสนุนนายจ้างทำให้แนวโน้นการใช้กระบวนการยุติธรรม และมีการปรุงแต่งข้อมูลเปลี่ยนแปลงหลักฐานเดิม ทำให้ที่ดินของรัฐมีแน้วโน้มว่าจะตกเป็นของบริษัททุนข้ามชาติ และบริษัทผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จำนวนมาก อย่างเช่นกรณีที่ดินของอำเภอท้ายเหมืองที่มีจำนวนไร่ เพียง500 ไร่ แต่ราคาที่ดิน สูงถึงไร่ละ 21 ล้านซึ่งเป็นราคาประเมินของกรมที่ดิน ร่วมมูลค่าแล้ว เป็นเงินถึง 10,000 ล้านบาทและปัจจุบันถูกเสนอขายให้ชาวต่างชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้วหากจบขั้นตอนในขนวนการยุติธรรม กลุ่มนายทุนก็รับเงินมหาศาลทันที่ และนี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ แต่มีกรณีอย่างนี้อีกจำนวนหลายแห่ง
นายธนู กล่าวในตอนท้ายอีกว่า ในฐานะที่เป็นอนุกรรมการฐานทรัพยากรที่ดิน คณะกรรมการปฎิรูปการเมือง ต้องการให้รัฐบาลและผู้มีอำนาจดำเนินการแก้กฎหมายภาษีและการจัดการที่ดิน อย่างเช่น ให้มีการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้าสำหรับที่ดิน ให้มีการจัดการการถือครองที่ดิน ให้จัดเก็บแก้ไข้การเก็บภาษีมรดกใหม่ หรือแม้แต่ภาษีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับที่ดินด้วย
นายพิชิต จินดาพล นายก อบต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จงพังงา กล่าวว่า อบต.ต้องมีเรื่องราวกับนายทุนที่เข้ามาบุกรุกและครอบครองที่ดินสาธารณะเป็นเนื่องๆ มีทั้งการบุกรุกต้องการครอบครองออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ชายหาด ออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ป่าชายเลน หรือแม้แต่ที่ดินหลุบฝั่งศพของชาวเล กลุ่มชายพันธ์มอแกนที่มาอาศัยอยู่บนฝั่งแล้ว
ล่าสุด อบต.จะสร้างที่พักให้กับกลุ่มประมงพื้นบ้านที่ออกเรือหาปลาทำประมงริมฝั่งทะเลและเป็นแหล่งอาหารให้ชาวบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกทนายความของกลุ่มทุนมาคัดค้านการก่อสร้างโดยอ้างว่าบดบังทัศนวิสัยการมองเห็นทะเล แต่ตรงกันข้าม กลุ่มทุนมักสร้างรัวสูงๆ บังประชาชนทั่วไป ซึ่งในอดีตราคาที่ดินไม่สูงการท่องเที่ยวยังไม่พัฒนามาก แค่ขับรถผ่านบนถนนก็เห็นวิวทะเลแล้ว แต่ปัจจุบัน หายไปมองเห็นแต่รั่วสีขาวและกำนันตำบลโคกกลอย ก็ต้องไปเป็นพยานศาลบอย
นายอำนาจ ขุนแก้ว อัยการจังหวัดพังงาคนใหม่ กล่าวว่า ช่วง ที่ตนรับราชการอยู่ในพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งมีเขตอำนาจศาลจังหวัดพังงา คืออำเภอท้ายเหมือง ตะกั่วทุ่ง เมืองพังงา ทับปุด และ อำเภอเกาะยาว สำนวนที่สั่งไม่ฟ้องทั้งหมดจะสามารถที่จะตรวจสอบได้ และเชื่อว่าจะไมjมีข้อครหาสำหรับการวิ่งเต้นคดีและการสั่งคดี
แหล่งข่าวจากผู้ไกล่เกลี่ยศาลจังหวัดพังงา กล่าวว่า ในศาลจังหวัดพังงามีคดีเกี่ยวข้องกับที่ดินที่สูงมากกว่า ร้อยละ 50 ของคดีทั้งหมด
|