homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 
 

ผ่าซากพะยูนหาสาเหตุ

หนังสือพิมพ์เสียงใต้ 5 ก.พ. 2552

เวลา 11.00 น.วันที่ 4 ก.พ. ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน บ้านอ่าวมะขาม อ.เมือง จ.ภูเก็ต นส.กาญจนา อดุลยนุโกศล หัวหน้ากลุ่มงานสัตว์ทะเลหายากพร้อมด้วยนายสัตวแพทบ์และนักวิชาการประมงทะเลของทางสถาบันฯ ได้ร่วมกันผ่าซากพะยูนเพศเมีย ยาว 2.8 เมตร น้ำหนัก 300 กิโลกรัม ซึ่งเสียชีวิตที่ จ.กระบี่เมื่อวันที่ 3 ก.พ.

ในขณะที่ภายในห้องเย็นของทางสถาบันยังมีซากพะยูนเพศเมียอีกสองตัวที่รอผ่าชันสูตรซากเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตในวันที่ 5 ก.พ. โดยระยะ1 สัปดาห์ที่ผ่านมาปรากฏว่าน่าวิตกถึงชะตากรรมของพะยูนที่เสียชีวิตไล่เลี่ยกันถึง 3 ตัว โดยพะยูนที่เสียชีวิต ทั้ง 3 ตัวเป็นเพศเมีย ตัวแรกพบเสียชีวิตที่จ.ตรัง ความยาว 1.9 เมตร น้ำหนัก 125 กก. ตัวที่สองพบเสียชีวิตที่ จ.สตูล ความยาว 2.8 เมตร น้ำหนัก 300 กก. และล่าสุดเมื่อเย็นวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมาพบที่จ.กระบี่ ความยาว 2.8 เมตร น้ำหนัก 300 กก.

นส.กาญจนา อดุลยนุโกศล หน.กลุ่มงานสัตว์ทะเลหายาก สถาบันฯ แสดงความวิตกถึงปรากฏการณ์ที่พะยูนเพศเมียจากพื้นที่สามจังหวัดเสียชีวิตในระยเวลาไล่เลี่ยกันถึง 3 ตัว พร้อมกันว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าวิตกที่ระยเวลาเพียง 3-4 วันที่ผ่านมามีพะยูนเกยตื้นถึง 4 ตัว และเสียชีวิตถึง 3 ตัวในพื้นที่ทะเลอันดามัน คือที่ จ.กระบี่ สตูล และกระบี่ส่วนอีกตัวติดอวนชาวประมงที่บ้านไม้รูด จ.ตราด แต่ชาวบ้านช่วยกันปล่อยไป

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ถือว่าเป็นวิกฤตมากของพะยูนที่มาตายเยอะผิดปกติและตายครอบคลุมในพื้นที่กว้างถึง 3 จังหวัด ส่วนสาเหตุการตายคงไม่สามารถสรุปหรือฟันธงไปเลยต้องมีการผ่าซากทำการชันสูตรโดยละเอียดอีกครั้ง โดยในวันนี้ได้ทำการผ่าขันสูตรซากพะยูนที่ทางสถาบันได้รับมาล่าสุดเป็นพะยูนที่เสียชีวิตในพื้นที่จ.กระบี่ สรุปเป็นซากพะยูนที่มีสภาพเน่าเหม็น คาดว่าเสียชีวิตมาไม่ต่ำกว่า 3-4 วันแล้ว ถือว่าเป็นพะยูนที่มีอายุมากซึ่งพบไม่บ่อยหนักมีอายุราว 40 ปี สาเหตุการตายในเบื้องต้นบอกได้เพียงว่าเราไม่พบการเจ็บป่วย เพราะจากการตรวจสอบพบว่าเป็นพะยูนที่กินอาหารได้ดี มีอาหารตกค้างอยู่ในกระเพาะราว 10 กก. ถือว่าเป็นพะยูนที่มีความสมบูรณ์ที่สุดตัวหนึ่ง ตรวจไม่พบร่องรอยบาดแผลหรือการถูกของ กระแทกหรือร่องรอยการถูกสัตว์อื่นทำร้าย สันนิฐาณว่าอาจติดเครื่องมือประมงและเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน

ด้านน.สพ.สนธยา มานะวัฒนา นายสัตว แพทย์ประจำสถาบันฯที่ร่วมผ่าชัยสูตรซากพะยูนครั้งนี้ เผยว่า ในการผ่าชันสูตรซากพะยูนในวันนี้เป็นซากพะยูนที่เสียชีวิตมาแล้วอย่างน้อย 3-4 วัน ทำให้สภาพค่อนข้างเน่า ไม่สามารถสรุปสาเหตุการเสียชีวิตได้โดยทันที แต่ในเบื้องต้นเราพบว่ายังมีอาหารอยู่ในกระเพาะของพะยูนตัวนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าก่อนเสียชีวิตไม่นานยังทานอาหารได้ตามปกติ ดังนั้นสาเหตุการเสียชีวิตน่าจะเป็นสาเหตุที่ค่อนข้างจะเฉียบพลัน ซึ่งสันนิษฐานกว้างๆว่าน่าจะเกิดจากเครื่องประมงของชาวประมงเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต หรืออุบัติเหตุบางอย่างระบุได้เพียงว่าไม่ใช่การเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย เนื่องจากซากค่อนข้างเน่าจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามีการติดเชื้อ แต่จากลักษณะชั้นไขมันที่หนา และอาหารที่เหลืออยู่บ่งชี้ว่าสุขภาพโดยรวมของพะยูนตัวนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ไม่น่าจะป่วยจนทำให้เสียชีวิตได้ เป็นที่น่าเสียดายเพราะถือว่าเป็นพะยูนที่ค่อนข้างใหญ่ จากลักษระเขี้ยวและการสึกกร่อนของฟันคาดว่ามีอายุราว 30-40 ปี ถือว่าเป็นพะยูนที่ค่อนข้างแก่ เท่าที่ดูลักษณะของรังไข่พบว่ามีร่องรอยการตกไข่มาหลายสิบครั้งแล้วถือเป็นพะยูนวัยสมบูณ์พันธ์ที่น่าเสียดายตัวหนึ่ง

น.ส.กาญจนา ระบุถึงสถานการณ์ประชากรพะยูนที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทยเวลานี้ ประมาณ 200 ตัว ซึ่งหากมีการตายมากแบบนี้ พะยูนก็จะใกล้กับภาวะวิกฤตในการเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ได้ ปกติในต่างประเทศที่เขาทำการ    วิจัยนั้น พะยูน 1,000 ตัว ตายต้องไม่เกิน 13 ตัว ในรอบปี 2552 ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นเดือนมกราคมนี้เอง ของเราพบพะยูนตายไล่เลี่ยกันถึง 4 ตัวแล้ว ถือเป็นวิกฤตการณ์ที่น่าวิตกอย่างยิ่ง เพราะนับจากปี 2534 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าในช่วงปี 2536-2537 ช่วงนั้นจะพบพะยูนตายมาก เฉลี่ยปีละถึง 12 ตัว หลังจากนั้นพบพะยูนตายน้อยลง แต่มาระยะนี้พบมีพะยูนตายมากขึ้นอีก

สำหรับในพื้นที่ฝั่งอันดามันพื้นที่ที่พะยูนอาศัยอยู่มากที่สุดก็ยังเป็ฯ จ.ตรัง คือที่เกาะมุก และเกาะสาลิบง ราว 150 ตัว นอกนั้นกระจัดกระจายอยู่ตาม จ.กระบี่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งสถานการณ์ที่พะยูนในฝั่งอันดามันตายไล่เลี่ยกันแบบนี้บ่งบอกว่ามนุษย์เราเอาใจใส่ดูแลทรัพยา กรตัวนี้น้อยลง ทำให้ขากการระแวดระวัง สิ่งที่อยากฝากถึงผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป คือ อยากเห็นความตื่นเต้นของคนที่มีต่อข่าวการตายของพะยูนที่เป็ฯข่าวใหญ่ในหน้า นสพ. ลดน้อยลง อยากให้ทุกคนมีความตื่นเต้นในมุมมองที่กลับกันคือตื่นเต้นดีใจกับข่าวที่เรายังมีพะยูนอย่างอุดมสมบูรณ์ มีประชากรพะยูนฝูงใหญ่อยู่ในพื้นที่หลายๆจังหวัดมากกว่า ในส่วนตัวอยากให้เรามุ่งไปสนใจที่ประชากรตามธรรมชาติ โดยให้ทุกคนช่วยกันดูแลว่าจะทำอย่างไรที่เรา จะสามารถอนุรักษ์ให้มีพะยูนอยู่ยั่งยืนคู่น่าน น้ำทะเลไทยสืบไปมากว่า นส.กาญจนา กล่าว ท้ายสุด

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: