สรุปรายงานสถานการณ์เบื้องต้น
การทำลายสภาพป่าชายเลน
ชุมชนบ้านในไร่ ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
เดือนสิงหาคม 2550
ต้นเดือนสิงหาคม 2550 นายสมเกียรติ ลีธีระ และนายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ได้นำรถแบ็คโฮเข้าไปไถป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งป่าชายเลนผืนดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เคยได้เข้ามาตรวจสอบดูแลเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึงประมาณ 60 ไร่ และทางสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 22 บ้านกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังา ได้เข้ามาตรวจสอบพื้นที่และได้มีการรังวัดร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดิน สาขาอำเภอท้ายเหมือง จัดทำแนวเขตป่าชายเลนออกจากเอกสารสิทธิ์นส.3ก. มีเนื้อที่ 59.2 ไร่ ชาวบ้านที่คัดค้านกลับถูกข่มขู่ และห้ามยุ่งเกี่ยวมิฉะนั้นแล้วจะไม่ปลอดภัยในชีวิต
วันที่ 13 สิงหาคม 2550
ชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ ได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องขอความช่วยเหลือให้ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนบ้านในไร่ เนื่องจากที่ชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ ได้ยอมความคดีที่ดินให้แก่นายสมเกียรติ ลีธีระ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ปัจจุบันกลุ่มนายทุนได้นำรถแม็คโฮไถปรับสภาพพื้นที่อยู่อาศัยเดิมของชาวบ้านและบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน จำนวน 59.2 ไร่ จนพื้นที่ที่ชาวบ้านได้ร่วมกันดูแลรักษาเกิดความเสียหาย ที่ผ่านมาชาวบ้านได้ยื่นหนังสือร้องเรียนแก่ ฯพณฯท่านยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบในพื้นที่ป่าชายเลน จากนั้นทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงไปสำรวจพื้นที่ดังกล่าวและได้ทำหนังสือชี้แจงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์จำนวน 60 ไร่ ในพื้นที่ป่าชายเลนของชุมชน จากนั้นทางสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 22 ฝ่ายป้องกันและปราบปรามได้เข้ามาตรวจสอบพื้นที่แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด ในขณะที่ทางชาวบ้านผู้คัดค้านการบุกรุกถูกข่มขู่จากนายทุนที่เข้ามาบุกรุกป่าชายเลนด้วย ทางชุมชนบ้านในไร่จึงขอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนบ้านในไร่โดยเร่งด่วน
วันที่ 17 สิงหาคม 2550
ชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ ทำหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องการคุกคามกลุ่มแกนนำชุมชน สืบเนื่องจากชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ หมู่ที่ 7 ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ได้ยอมความคดีพิพาทที่ดิน 23 แปลง ของนายสมเกียรติ ลีธีระ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา หลังจากชาวบ้านได้ยอมความแล้ว เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2550 ผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านในไร่ พร้อมกับผู้ใหญ่สมและพวก เป็นผู้ดูแลที่ดิน 23 แปลงและในจำนวน 23 แปลงนี้เอง ส่วนหนึ่งก็เป็นพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเคยไปตรวจสอบดูแล้ววาเป็นป่าชายเลนจริงประมาณ 60 ไร่ หลังจากนั้นทางสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 22 ( ฝ่ายป้องกันและปราบปราม ) ได้เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว เป็นป่าชายเลนจึงได้เดินแนวเขตกันออกมาจากนส.3ก. จำนวน 59.2 ไร่
ในขณะนี้ป่าชายเลนจำนวน 59.2 ไร่ ทางผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทองและพวกได้พารถแม็คโฮไปไถพื้นที่เปลี่ยนแปลงสภาพจากป่าชายเลนรอกั้นลวดหนามในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในการสัญจรไปมาในพื้นที่ดังกล่าวได้ แต่ชาวบ้านก็ไม่กล้ามีปากเสียง เนื่องจากผู้ใหญ่เชษฐ์และพวก ได้ข่มขู่ชาวบ้านว่าห้ามใครมายุ่งเกี่ยวกับที่ดินผืนนี้ และจะให้ผู้ใหญ่สมซึ่งเป็นเจ้าพ่ออำเภอท้ายเหมืองเข้าคุมพื้นที่ในไร่ด้วย โดยผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทอง และพวก มีปืนไว้ครอบครองกันทุกคนเพื่อไว้ข่มขู่ชาวบ้านและติดตามชาวบ้านที่นั่งจับกลุ่มคุยกัน มีการข่มขู่แกนนำที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ โดยทางชุมชนมีข้อเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้
- ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลงมาตรวจสอบพื้นที่ป่าชายเลนภายใน 7 วัน
- ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสั่งการไปยังจังหวัดให้มาตรวจสอบการใช้อาวุธผิดกฎหมาย
- ให้ทางจังหวัดเข้ามาดูแลความปลอดภัยของแกนนำและกลุ่มเคลื่อนไหวในขณะนี้
- ภายใน 7 วันหากไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด กลุ่มเคลื่อนไหวจะไปทวงถามกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ควรได้รับการคุ้มครอง
วันที่ 21 สิงหาคม 2550
ทางประธานคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่งและแร่ ได้ส่งหนังสือสำเนาเลขที่ สม. 0003/1869 ซึ่งทางคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่งและแร่ ได้ส่งไปยังอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เรื่องการบุกรุกที่ดินบริเวณบ้านในไร่ มาให้ชุมชนบ้านในไร่ได้รับทราบ โดยมีเนื้อหาตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีการตรวจสอบกรณีที่ดินของนายสมเกียรติ ลีธีระ บริเวณหมู่ที่ 7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ได้ออกรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ 24/2548 และมีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีหนังสือที่ ทส.0405/645 ลงวันที่ 18 เมษายน 2549 แจ้งให้ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่งและแร่ ทราบ จากการตรวจสอบพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหรือคาบเกี่ยวกับพื้นที่ป่าชายเลน จึงได้ทำหนังสือคัดค้านการออกโฉนดที่ดินตามหลักฐานนส.3ก. ทั้ง 7 ฉบับ พร้อมเร่งรัดการพิจารณาของเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอท้ายเหมือง
ทางประธานคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่งและแร่ ได้รับแจ้งจากแกนนำชุมชนบ้านในไร่เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2550 ได้มีกลุ่มบุคคลใช้รถแบ็คโฮไปไถพื้นที่เปลี่ยนแปลงสภาพป่าชายเลนเพื่อจะกั้นรั้วลวดหนาม ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในการสัญจรไปมาในพื้นที่ดังกล่าวและได้ข่มขู่ชาวบ้านว่าห้ามไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินผืนนี้ ทางคณะอนุกรรมการฯเห็นว่า หากปล่อยให้มีการขุดทำลายก็จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าชายเลนเสียหาย จึงขอความอนุเคราะห์จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรีบส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและ ระงับการบุกรุกป่าชายเลนและดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบุกรุกป่าชายเลนและทำลายทรัพยากรต่อไป
วันที่ 24 สิงหาคม 2550
ชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ ได้ทำหนังสือถึงคุณเตือนใจ ดีเทศน์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หนังสือลงวันที่ 23 สิงหาคม 2550 เพื่อแจ้งสถานการณ์ของชุมชนบ้านในไร่ เนื่องจากเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2550 นายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 และลูกน้องได้นำรถแบ็คโฮไปไถเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 59.2 ไร่ซึ่งเป็นผืนป่าชายเลนที่ทางคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่งและแร่ ระบุว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึงและเป็นป่าชายเลนที่ออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบประมาณ 60 ไร่ จากนั้นทางสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 22 ( ฝ่ายป้องกันและปราบปราม ) ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วว่าเป็นป่าชายเลนและได้เดินแนวกั้นเขตในพื้นที่ จำนวน 59.2 ไร่
ในขณะที่นายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 และลูกน้องได้ข่มขู่ชาวบ้านที่เข้ามาเป็นแกนนำในการคัดค้านและชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน จึงทำให้ชาวบ้านหวาดระแวง ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากนายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ได้พกพาอาวุธปืนและทำการข่มขู่ซึ่งเป็นการคุกคามสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวบ้าน โดยไม่มีหน่วยงานใดให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว
วันที่ 25 สิงหาคม 2550
ชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ ยื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการป่าชายเลนที่ 2 หนังสือลงวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์หนังสือการกั้นแนวเขตป่าชายเลนจำนวน 59 ไร่ ชุมชนในไร่ ตามที่สถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 22 ได้เข้ามาตรวจสภาพพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนในไร่ หมู่ที่ 7 ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ นส.3ก ทับที่ป่าชายเลนจำนวน 59 ไร่ ส่งผลกระทบต่อชุมชนบ้านในไร่และเป็นป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทางชาวบ้านที่คัดค้านการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าชายเลนจำนวน 59 ไร่ที่ได้มีการส่งคำพิจารณาการเพิกถอน นส.3ก ของนายสมเกียรติ ลีธีระ ที่ทับป่าชายเลนดังกล่าว ชาวบ้านจึงมีความจำเป็นที่จะต้องการใช้เอกสารดังกล่าวมาศึกษาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าชายเลน
จึงขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการป่าชายเลนที่ 2 อย่างเร่งด่วน เพื่อยึดป่ายชายเลนให้กลับคืนมาเป็นของชุมชน ตามพระราชดำริ 12 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา
วันที่ 27 สิงหาคม 2550
ชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ ยื่นหนังสือถึง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หนังสือลงวันที่ 26 สิงหาคม 2550 เรื่อง ขอให้ยุติการบุกรุกและเปลี่ยนแปลงสภาพป่าชายเลน
เนื่องจากชุมชนบ้านในไร่ หมูที่ 7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติสึนามึเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หลังจากนั้นนายสมเกียรติ ลีธีระ ได้อ้างสิทธิในที่ดินจำนวน 23 แปลง จึงมีผลกระทบต่อชุมชนบ้านในไร่ทางด้านการทำมาหากิน ที่อยู่อาศัยและป่าชายเลน จากนั้นชาวบ้านชุมชนในไร่ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบที่ดินดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่าที่ดินจำนวน 18 แปลงออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบและเป็นพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 60 ไร่ ต่อมาทางสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 22 บ้านกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบพื้นที่จึงเห็นว่าเป็นป่าชายเลนแล้วได้ดำเนินการรางวัดกันแนวเขตออกมาจาก นส.3ก จำนวน 59 ไร่จากนั้นทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ทำหนังสือคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน 7 ฉบับ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2549 เร่งรัดให้ที่ดินสาขาท้ายเหมืองเร่งดำเนินการพิจารณาแต่ปรากฏว่าที่ดินสาขาท้ายเหมืองยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใดจนมาถึงบัดนี้
ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2548 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านในไร่ นายเชษฐ์ ทรายทองและชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ได้ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติในที่ดินแปลงดังกล่าว แต่ในขณะนี้นายสมเกียรติ ลีธีระ และผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทอง ได้นำรถแม็คโฮเข้าไปไถและบุกรุกเปลี่ยนแปลงป่าชายเลนแปลงดังกล่าว เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2550 มีการข่มขู่ชาวบ้านที่คัดค้าน ห้ามไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับป่าชายเลนแปลงนั้นมิฉะนั้นจะไม่ปลอดภัยในชีวิตของกลุ่มผู้คัดค้าน ทำให้ชาวบ้านที่คัดค้านมีความหวาดกลัวและระแวงเป็นอย่างมาก เพราะผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทองและลูกน้องต่างก็มีอาวุธปืนด้วยกันทุกคน ดังนั้นทางกลุ่มผู้คัดค้านและชุมชนบ้านในไร่ได้มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
- ให้ดำเนินการตรวจสอบยุติการบุรุกป่าชายเลนจำนวน 59 ไร่
- ให้ดำเนินการตรวจสอบกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าชายเลน
- ให้รีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายใน 15 วัน
วันที่ 28 สิงหาคม 2550
ตัวแทนชุมชนบ้านในไร่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี และฯพณฯท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หนังสือลงวันที่ 26 สิงหาคม 2550 เรื่องขอให้ยุติการบุกรุกและเปลี่ยนแปลงสภาพป่าชายเลน
เนื่องจากชุมชนบ้านในไร่ หมูที่ 7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติสึนามึเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หลังจากนั้นนายสมเกียรติ ลีธีระ ได้อ้างสิทธิในที่ดินจำนวน 23 แปลง จึงมีผลกระทบต่อชุมชนบ้านในไร่ทางด้านการทำมาหากิน ที่อยู่อาศัยและป่าชายเลน จากนั้นชาวบ้านชุมชนในไร่ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบที่ดินดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่าที่ดินจำนวน 18 แปลงออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบและเป็นพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 60 ไร่ ต่อมาทางสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 22 บ้านกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบพื้นที่จึงเห็นว่าเป็นป่าชายเลนแล้วได้ดำเนินการรางวัดกันแนวเขตออกมาจาก นส.3ก จำนวน 59 ไร่จากนั้นทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ทำหนังสือคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน 7 ฉบับ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2549 เร่งรัดให้ที่ดินสาขาท้ายเหมืองเร่งดำเนินการพิจารณาแต่ปรากฏว่าที่ดินสาขาท้ายเหมืองยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใดจนมาถึงบัดนี้
ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2548 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านในไร่ นายเชษฐ์ ทรายทองและชาวบ้านชุมชนบ้านในไร่ได้ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติในที่ดินแปลงดังกล่าว แต่ในขณะนี้นายสมเกียรติ ลีธีระ และผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทอง ได้นำรถแม็คโฮเข้าไปไถและบุกรุกเปลี่ยนแปลงป่าชายเลนแปลงดังกล่าว เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2550 มีการข่มขู่ชาวบ้านที่คัดค้าน ห้ามไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับป่าชายเลนแปลงนั้นมิฉะนั้นจะไม่ปลอดภัยในชีวิตของ กลุ่มผู้คัดค้านทำให้ชาวบ้านที่คัดค้านมีความหวาดกลัวและระแวงเป็นอย่างมาก เพราะผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทองและลูกน้องต่างก็มีอาวุธปืนด้วยกันทุกคน ดังนั้นทางกลุ่มผู้คัดค้านและชุมชนบ้านในไร่ได้มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
- ให้ดำเนินการตรวจสอบยุติการบุรุกป่าชายเลนจำนวน 59 ไร่
- ให้ดำเนินการเพิกถอน นส.3ก ทับที่ป่าชาชายเลนจำนวน 59 ไร่
- ให้คุ้มครองดูแลกลุ่มผู้คัดค้านการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน
- ให้ดำเนินการตรวจสอบกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าชายเลน
- ให้รีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายใน 15 วัน
ในวันเดียวกันแกนนำกลุ่มคัดค้านการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน บ้านในไร่ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่งและแร่ หนังสือลงวันที่ 26 สิงหาคม 2550 เรื่องขอให้ติดตามการดำเนินงานตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนบ้านในไร่
ตามที่กลุ่มผู้คัดค้านการบุกรุพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนบ้านในไร่ หมูที่ 7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด แต่ทางกลุ่มนายสมเกียรติ ลีธีระและผู้ใหญ่เชษฐ์ ทรายทอง ได้เข้าไปดำเนินการล้อมรั้วกั้นลวดหนามในพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 59 ไร่ และยังมีการข่มขู่กลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางกลุ่มผู้คัดค้านจึงขอให้ทางคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง และแร่ เร่งดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสอบในพื้นที่อย่างเร่งด่วน เพื่อยุติการบุกรุกป่าชายเลนของกลุ่มผู้บุกรุกอยู่ในขณะนี้
วันที่ 30 สิงหาคม 2550
เจ้าหน้าที่ที่ดินสาขาท้ายเหมือง ลงพื้นที่ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลน และได้แจ้งให้นายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องลงไปในพื้นที่ชุมชนบ้านในไร่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากที่ดินสาขาอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน ( ลำแก่น ) เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันป่าไม้วังทัง ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อำเภอคุระบุรีและนายกองค์กาบริหารส่วนตำบลนาเตย สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเตย หมู่ที่ 7 และนายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 รวมถึงตัวแทนของนายสมเกียรติ ลีธีระ
ทางเจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอท้ายเหมืองได้ชี้แจงว่า การออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินออกโดยถูกต้องเมื่อปีพ.ศ. 2533 พร้อมกับนำเอกสารสิทธิ์ให้ชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นดู
เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน ( ลำแก่น ) ลงไปตรวจสอบพื้นที่โดยอ้างว่ตัวเองไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เนื่องจากไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนเอง
เจ้าหน้าที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ชี้แจงว่าเป็นที่ดินเอกสารสิทธิ์ของนายทุนเมื่อปี พ.ศ. 2533 และมีการกันแนวเขตออกมาจริง แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ยืนยัน และให้ทางสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเตยและนายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 เซ็นหนังสือรับรองการลงพื้นที่และนำรายชื่อผู้คัดค้านทั้ง 12 รายให้ผู้ใหญ่บ้านดู
เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันป่าไม้วังทัง เสนอว่าให้ฟ้องเจ้าหน้าที่และสรุปว่าเป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์
นายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 เป็นผู้ชี้แนวเขตที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าชายเลนและให้ผู้ที่คัดค้านมาคุยกับเจ้าหน้าที่ทั้งหมด หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ทั้งหมดก็ไปคุยกันที่บ้านนายเชษฐ์ ทรายทอง ผู้ใหญ่บ้านและหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้เดินทางไปที่บ้านผู้ใหญ่สมและมีตัวแทนของนายสมเกียรติ ลีธีระ รวมอยู่ด้วย
ในวันเดียวกัน ทางศูนย์เอกภพ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดกรุงเทพฯได้มีหนังสือเลขที่ 0028.263/1025 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2550 มายังด.ต.เชิดศักดิ์ กำโชค ทางด.ต.เชิดศักดิ์ กำโชค จึงลงมาในพื้นที่บ้านในไร่เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มแกนนำ เนื่องจากหนังสือดังกล่าวระบุว่าให้ตรวจสอบกรณีชาวบ้านในไร่เดินทางไปที่หน้าทำเนียบเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรีผ่านทางเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล โดยชุมชนบ้านในไร่มีข้อเรียกร้อง คือ
- ให้ดำเนินการตรวจสอบยุติการบุรุกป่าชายเลนจำนวน 59.2 ไร่
- ให้ดำเนินการเพิกถอน นส.3ก ทับที่ป่าชาชายเลนจำนวน 59.2 ไร่
- ให้คุ้มครองดูแลกลุ่มผู้คัดค้านการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน
- ให้ดำเนินการตรวจสอบกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าชายเลน
- ให้รีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายใน 15 วัน
|