|
|
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับ
วัตถุประสงค์
- เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และระบบนิเวศชายฝั่งของจังหวัดปัตตานี ด้วยการยกเลิกใช้และมีไว้ในครอบครองของเครื่องมือประมงอวนรุนซึ่งเป็นเคริ่องมือประมงที่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องมือประมงอวนรุนไปใช้เครื่องมือประมงประเภทอื่นที่ไม่ทำลายล้าง
- เพื่อพัฒนาองค์กร และชุมชนชาวประมงพื้นบ้านให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองและช่วยกันแก้ไขปัญหาตนเองได้ โดยสร้างเครือข่ายของการเรียนรู้การฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำระบบนิเวศน์ชายฝั่งร่วมกับภาครัฐ และภาครํฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ การดูแลและรักษาชายฝั่ง โดยจัดให้เรือตรวจการณ์ชายฝั่งของชุมชมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี และให้ชุมชนมีส่วนในการบริหารจัดการการใช้เรือ การจัดชุดเฉพาะกิจเฝ้าระวังและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง โดยราษฎรอาสาสมัครร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เป้าหมาย
- ทรัพยากรชายฝั่งจังหวัดปัตตานีได้รับการดูแล และปกป้องจากเครื่องมือที่ทำลายล้างด้วยมาตรการการปรับเปลี่ยนเครื่องมืออวนรุน ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 160 ราย เป็นเครื่องมือประมงที่ไม่ทำลายล้าง และมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่งขนาดใหญ่ 2 ลำ และขนาดเล็ก ซึ่งปรับปรุงจากเรืออวนรุนพื้นบ้าน 6 ลำทำหน้าที่ลาดตระเวน ดูแลรักษาชายฝั่ง
- ทรัพยากรชายฝั่งได้รับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูโดยการทำปะการังเทียมแบบพื้นบ้านใน 10 หมู่บ้านและฟื้นฟูส่งเสริมอาชีพในชุมชนชาวประมงที่ทำการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงอวนรุน
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชน ในพื้นที่ 6 อำเภอชายฝั่งทะเล ในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการขององค์กรชาวประมงพื้นบ้าน
- สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชุมชน ในการดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟู ทรัพยากรชายฝั่งในอ่าวปัตตานี ซึ่งมีความยาว 116 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอ ในจังหวัดปัตตานี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ทรัพยากรชายฝั่งและระบบนิเวศน์ทางทะเลได้รับการฟื้นฟู และสามารถสร้างความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณสัตว์น้ำมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทรัพยากรเหล่านี้ถือเป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน
- แก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งประสบปัญหาความยากจนมากที่สุด โดยการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และระบบนิเวศน์ชายฝั่งของจังหวัดปัตตานี
- องค์กรชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน สามารถพึ่งตนเองและช่วยกันแก้ไขปัญหาของตนเองได้มากขึ้น
- ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ การดูแลและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศน์ชายฝั่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการจัดให้มีเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง การจัดชุดเฉพาะกิจเฝ้าระวังและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง โดยราษฎรอาสาสมัครร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ผลการดำเนินงานตามโครงการนำร่องการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งจังหวัดปัตตานีสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูล และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
|
|
|