homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 
โครงการความช่วยเหลือเร่งด่วนชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงา

หลักการทั่วไป   โครงการความช่วยเหลือเร่งด่วนชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงา        เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านจากเหตุการณ์ที่เกิดธรณี  พิบัติภัย(สึนามิ)      ชาวประมงจังหวัดพังงา   เป็นกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว  สำหรับในจังหวัดพังงานั้น   ชาวประมง ทั้งชาวประมงพื้นบ้าน    ชาวประมงขนาดกลาง    และชาวประมงพาณิชย์      ได้รับความเสียหาย  ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน  เป็นจำนวนมาก  ซึ่งอาจกล่าวได้ ว่าเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบและเสียหายมากที่สุด  ใน 6 จังหวัดภาคใต้  ของชายฝั่งทะเลอันดามัน  ที่ผ่านมาความช่วยเหลือทั้งภาครัฐ  และองค์กร พัฒนาเอกชนได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย แต่บางกลุ่มบางองค์กร ชาวประมง  ก็ยังไม่สามารถที่จะฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวประมง  และวิถีชีวิต ชุมชนได้   
ทั้งนี้โครงการความช่วยเหลือเร่งด่วนชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงา  ได้ดำเนินการมอบอุปกรณ์ทางการประมงให้กับกลุ่มองค์กรชุมชน   ประมงพื้นบ้านโดย ฝ่ายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ  สถานทูตญี่ปุ่น  ประจำ ประเทศไทย    มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยฯ     เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน   สำนักงาน ประมงจังหวัดพังงา องค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 5 พื้นที่  อันได้แก่   อบต.บางม่วง  อบต.เกาะยาวน้อย อบต.เกาะยาวใหญ่ , อบต.พรุใน  และ อบต.นาเตย   ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ โครงการความช่วยเหลือเร่งด่วน      ชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงา  เป็นการให้อุปกรณ์การประมงประเภท  อวนดำ  สายมาน  เชือก   อวนลอยปลา  อวนปู   อวนกุ้ง  ลอบปลาและลอบหมึก  เป็นต้น  โดยมีกลุ่มองค์กรชาวบ้านที่ได้รับความ ช่วยเหลือดังนี้คือ

1. กลุ่มประมงตัวอย่างขนาดกลาง (อวนดำ)  บ้านน้ำเค็ม  อ.ตะกั่วป่า
2. กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลเกาะยาวน้อย  อ.เกาะยาว
3. กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลเกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว
4. กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลพรุใน  อ.เกาะยาว
5. กองทุนออมทรัพย์ฟื้นฟูชุมชนบ้านในไร่  ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง

โดยความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูอาชีพ ชาวประมงและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่มองค์กรชาวประมงโดยอุปกรณ์ดังกล่าว ใช้ในการหมุนเวียน ให้กับสมาชิกชาวประมงแต่ละกลุ่ม  เพื่อการยกระดับกระบวนการของกลุ่มองค์กรชาวประมงในอนาคต

การดำเนินการ        

มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชินูปถัมภ์(WFT) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ได้รับมอบหมาย     และเข้าร่วมโครงการฯดังกล่าว ได้ดำเนินการสนับสนุนตามโครงการความ ช่วยเหลือเร่งด่วน  ชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงาที่ ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติ จากสถานทูตญี่ปุ่น  ประจำประเทศไทย  โดยได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการ    ประสานงาน ติดตาม และ  สนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการให้แก่กลุ่มองค์กร  ชุมชนประมง พื้นบ้านแต่ละพื้นที่ ดังต่อไปนี้

  • นายธนู  แนบเนียร                       ผู้ประสานงานในพื้นที่จังหวัดพังงา
  • นายนิยม  ทองเหมือน                  ผู้รับผิดชอบพื้นที่บ้านน้ำเค็ม 
  • นางสาวนิภารัตน์  โบศรี             ผู้รับผิดชอบพื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย 
  • นางสาวบุศรินทร์  ประดิษฐ์       ผู้รับผิดชอบพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่
  • นายนิติ  ฉายบัณฑิต                     ผู้รับผิดชอบพื้นที่ตำบลพรุใน 
  • นายอดินันท์  จิเหล่า                     ผู้รับผิดชอบพื้นที่ชุมชนบ้านในไร่

ดังนั้นการดำเนินงาน ตั้งแต่ช่วงเตรียมการเดือนมิถุนายน-กันยายน 2548 และจนถึงระยะดำเนินงานตามโครงการฯเดือนตุลาคม 2548-กรกฎาคม 2549 ทางมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยฯ  จึงได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

1. จัดทำบัญชีรายชื่อกลุ่มองค์กรชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยสึนามิ และประเมินความต้องการช่วยเหลือเร่งด่วนดำเนินการในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน  2548  

2. การคัดเลือกกลุ่มองค์กรชุมชนเบื้องต้น ที่มีการบริหารจัดการฯและดำเนินการต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี ในเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยสึนามิ จังหวัดพังงา   (ตามเอกสารประวัติกลุ่มองค์กรชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดพังงา ในภาคผนวก) ดำเนินการในช่วงระหว่างเดือน กรกฎาคม-เดือนตุลาคม  2548

3. จัดเวทีทำความเข้าใจถึงแนวทางการสนับสนุนอุปกรณ์ประมง ให้กับที่ปรึกษาโครงการฯ เช่น สำนักงานประมงจังหวัดพังงา องค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง  5 ตำบล ดำเนินการในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน   2548

4. เข้าร่วมประชุมทำความเข้าใจ และชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯ เช่น วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการฯ รายละเอียดของอุปกรณ์ที่จะให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มองค์กรชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน กำหนดการเบื้องต้นในการมอบอุปกรณ์ประมง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มและสมาชิกหรือผู้ที่สมควรที่จะได้รับการช่วยเหลือ และการเตรียมการสำหรับการมอบของรวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม

5. ดำเนินการประสานงานและติดตามการจัดทำความเข้าใจระหว่างมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย  ในพระบรมราชินูปถัมภ์(WFT) ภายใต้การสนับสนุนจาก สถานทูตญี่ปุ่น ร่วมกับ  ประมงจังหวัดพังงา และประธานกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านที่ได้รับการคัดเลือกการช่วยเหลือ คือ

    1. กลุ่มประมงตัวอย่างขนาดกลาง (อวนดำ)  บ้านน้ำเค็ม 
    2. กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลเกาะยาวน้อย 
    3. กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลตำบลเกาะยาวใหญ่
    4. กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลพรุใน 
    5. กองทุนออมทรัพย์ฟื้นฟูชุมชนบ้านในไร่

        โดยเงื่อนไขในการคัดเลือกกลุ่มมีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้

  • เป็นกลุ่มองค์กรชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยธรณีพิบัติ  ในจังหวัดพังงา และสมาชิกได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • เป็นกลุ่มองค์กรชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่สมาชิกของกลุ่มได้สูญเสียปัจจัยการผลิตตั้งแต่น้อยไปจนถึงเสียหายอย่างหนัก หรือเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกได้สูญเสียเครื่องมือประมงพื้นบ้าน  หรือสมาชิกที่ไม่มีเรือแต่ได้สูญเสียเครื่องมือการประมง
  • เป็นกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วแต่ยังไม่เพียงพอ
  • เป็นกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านที่ได้ก่อตั้งขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี (นับถึงกรกฎาคม 2548)
  • เป็นกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านที่มีความสามารถในการบริหารจัดการหรือ เคยเข้าร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธรณีพิบัติภัย หรือ เข้าร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง
  • เป็นกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านที่มีประสบการณ์ในโครงการการจัดการโดยชุมชน
  • มีกองทุนหมุนเวียนของกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านหรือพร้อมที่จะเข้าร่วมในการ เรียนรู้เพื่อให้มีความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนหมุนเวียน
  • มีกลไกภายในกลุ่มที่ประกันได้ว่าผู้ได้รับอุปกรณ์การประมงสามารถจ่ายเงินคืนให้กับกลุ่ม องค์กรได้ครบถ้วน  ดำเนินการในช่วงระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม  2548  (ตามเอกสารทะเบียนประวัติกลุ่มองค์กรชาวประมงพื้นบ้าน ในภาคผนวก)

6. การประสานงานและติดตามการคัดเลือกสมาชิกหรือผู้ได้รับผลกระทบจาก ธรณีพิบัติภัยที่จะได้รับความช่วยเหลืออุปกรณ์ประมง   โดยกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านและคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ร่วมกันพิจารณาตัดสินใจในการที่จะให้ความ ช่วยเหลือสมาชิกแต่ละรายในกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านนั้น ๆ ทั้งนี้ในการพิจารณาตัดสินใจในการให้ความช่วยเหลือฯ ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยฯ และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน ร่วมกำหนดคุณสมบัติและลักษณะตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ ไม่ว่าจะขึ้นทะเบียนไว้หรือไม่ก็ตาม
  • เป็นชาวประมงพื้นบ้าน ประมงขนาดกลาง ที่สูญเสียปัจจัยการผลิต หรือเสียหายรุนแรง
  • เป็นเจ้าของเรือขนาดไม่เกิน 10 เมตร หรือหากไม่มีเรือแต่ได้สูญเสียเครื่องมือการประมง
  • เป็นสมาชิกของกลุ่มมาอย่างน้อย 1 ปี
  • เข้าร่วมในกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมหลังจากเกิดคลื่นสึนามิ
  • มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหมุนเวียน หรืออยู่ในระหว่างการเรียนรู้
  • ยินดีที่จะจ่ายเงินค่าอุปกรณ์การประมง คืนให้กับบัญชีที่กลุ่มเปิดขึ้น สำหรับโครงการนี้เพื่อประโยชน์ของกลุ่ม
  • มีความสามารถในการใช้อุปกรณ์การประมงให้เกิดประโยชน์
  • ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเพียงพอ

7. การประชุมทำความเข้าใจผู้ได้รับอุปกรณ์การประมง หลังจากที่สมาชิกจากทั้ง 5 ชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 288 ราย ที่ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการความช่วยเหลือเร่งด่วนชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงา เจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยฯ และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน สำนักงานประมงจังหวัดพังงา คณะทำงานประจำจังหวัดพังงา  ดำเนินการทำความเข้าใจแก่สมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับการช่วยเหลืออุปกรณ์ประมง   และการเตรียมการสำหรับการรับมอบโดยจะกำหนดวันเวลาและสถานที่ในการรับมอบ ใน 5 พื้นที่  ดำเนินการในช่วงระหว่างปลายเดือนตุลาคม 2548 – ธันวาคม 2548 และกำหนดหลักการแนวทางการจัดการกองทุนหมุนเวียน ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2548 มีนาคม  2549  ดังต่อไปนี้ 

  • เป็นไปตามระเบียบกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านนั้น ๆ จะต้องเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ แพปลาชุมชน ร้านค้าชุมชน กลุ่มฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมงในเครือข่ายชมรมชาวประมงพื้นบ้านแต่ละจังหวัด
  • ต้องเป็นสมาชิกและเข้าร่วมในกิจกรรมกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน และทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องไม่ประกอบอาชีพที่ใช้เครื่องมือประมงทำลายทรัพยากร ไม่เป็นบุคคลที่ติดการพนัน ยาเสพติด และไม่เป็นนักเลง อันธพาล ซึ่งทางกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านที่ดูแลอยู่ต้องตรวจสอบประวัติ กลั่นกรองอย่างชัดเจน
  • ต้องมีการจัดทำสัญญาเช่าซื้อและมีกำหนดผ่อนชำระคืนในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันทำสัญญา
  • หากสมาชิกขาดการผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาทางกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านและกรรมการกลุ่มฯ มีสิทธิ์ในการตัดสินใจยึดอุปกรณ์การประมงกลับมาเป็นของกลุ่มฯต่อไป
  • การดำเนินการจัดการกองทุนหมุนเวียนในรอบถัดไปให้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ แต่ละกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านนั้น ๆ โดยให้ยึดหลักผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือในรายถัดไป ตามระเบียบและคุณสมบัติที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น (ตามเอกสารแนบท้ายระเบียบการกลุ่มองค์กรที่ได้รับการช่วยเหลือ)

8. ดำเนินการจัดซื้อและรับมอบอุปกรณ์การประมง ในรอบที่ 1 ได้แก่ อวนดำ   สายมาน ลอบหมึก อวนปลาชนิดต่างๆ    ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2548   ถึง พฤษภาคม 2549 ในรอบที่ 2 ดำเนินการสั่งและจัดซื้ออุปกรณ์การ      ประมงในช่วงเดือนมิถุนายน2549 ถึง กรกฎาคม 2549  อุปกรณ์การประมง  ได้แก่ อวนลอยกุ้ง อวนจมปู  อวนปลาชนิดต่างๆ ซึ่งในขณะนี้กำลังรอการ รับมอบอุปกรณ์การประมงที่ สั่งซื้อจากบริษัทอวนเอเชีย จำกัด (เนื่องจากว่า ปริมาณการสั่งอุปกรณ์การประมงมีจำนวนมาก จากหลายหน่วยงาน หลาย   องค์กร ทำให้บริษัทผลิตไม่ทันตาม ความต้องการของลูกค้า)

9.   การดำเนินการติดตามการมอบอุปกรณ์ประมงให้แก่กลุ่มองค์กรชุมชน ประมงพื้นบ้านที่ได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลือจากโครงการฯ ดำเนินการในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2549  สำหรับการรับ มอบนั้นประธานของกลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านเป็นผู้ลงนามรับ        มอบอุปกรณ์ตามแบบฟอร์มที่โครงการฯได้จัดทำขึ้น และกลุ่มจะ ดำเนินการมอบ อุปกรณ์ให้กับสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกของกลุ่มตาม รายชื่อในเอกสารในภาคผนวก และการรับมอบของได้ร่วมทำหน้าที่ในการ    รับมอบอุปกรณ์ที่ส่งมอบให้แก่กลุ่มองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านแต่ละกลุ่ม ดังนี้

     - กลุ่มประมงตัวอย่างขนาดกลาง (อวนดำ) บ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่าผู้ได้รับประโยชน์ทางตรง  70 ราย และเรืออวนดำทั่วไป ประมาณ 40 ราย    ได้รับมอบอุปกรณ์การประมง คือ

    • อวนดำจำนวน  45 ก้อน
    • สายมาน จำนวน 6 ก้อน 
    • เชือกขนาด 6มม., 7มม.,8มม.,16มม.  จำนวน  9,601.91  กก.

     - กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลเกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว ผู้ได้รับประโยชน์ทางตรง  20 ราย  และ ทางอ้อมประมาณ 80 ราย ได้รับมอบอุปกรณ์การประมง คือ

    • อวนปลาชนิดต่างๆ  จำนวน  20 ผืน 
    • ลอบหมึก จำนวน  800 ลูก 
    • สำหรับการรับมอบอุปกรณ์ที่เหลือ  อวนลอยกุ้ง จำนวน  400  ผืน อวนจมปู 150  ผืน  อวนปลาชนิดต่างๆ 60 ผืน  ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงกันยายน 2549

     - กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลตำบลเกาะยาวใหญ่  อ.เกาะยาว ผู้ได้รับผลประโยชน์ตรง 56 ราย  และ ทางอ้อมประมาณ  184  รายได้รับมอบอุปกรณ์การประมง คือ

    • อวนปลาชนิดต่างๆ  จำนวน 18  ผืน   ผู้ได้รับประโยชน์ทางตรง  6 ราย  และ ทางอ้อมประมาณ         24  ราย
    • สำหรับการรับมอบอุปกรณ์ที่เหลือ  อวนลอยกุ้ง จำนวน  800  ผืน   อวนปลาชนิดต่างๆ   80   ผืน  ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2549

     - กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านตำบลพรุใน  อ.เกาะยาว ผู้ได้รับผลประโยชน์ตรง   89 ราย  และ ทางอ้อมประมาณ 
287  ราย
  ได้รับมอบอุปกรณ์การประมง คือ

    • อวนปลาชนิดต่างๆ  จำนวน 20  ผืน
    • ลอบหมึก  800 ลูก   
    • สำหรับการรับมอบอุปกรณ์ที่เหลือ  อวนลอยกุ้ง จำนวน  600  ผืน    อวนปลาชนิดต่างๆ   120   ผืน   อวนปู 250  ผืน และ   ลอบหมึก 300 ลูก  ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2549

     - กองทุนออมทรัพย์ฟื้นฟูชุมชนบ้านในไร่  ต.นาเตย อ.ท้ายเหมืองผู้ได้รับประโยชน์ทางตรง  25 ราย  และ ทางอ้อมประมาณ         
100   ราย 
ได้รับมอบอุปกรณ์การประมง คือ

    • อวนปลาชนิดต่างๆ พร้อมอุปกรณ์ เชือก ทุ่น และตะกั่ว     จำนวน   130  ผืน
    • ลอบหมึก  600 ลูก

                

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: