homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 
โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังบ้านน้ำเค็ม

จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่  ประมงพื้นบ้าน เรือเสียหายจำนวน  420 ลำ  เรือประมงขนาดกลางจำนวน 79 ลำ   กลุ่มแพปลาจำนวน 14 ราย     กลุ่มเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังจำนวน   72 ราย โรงกลึง 1 แห่ง โรงงานปลาป่น 1 แห่ง เป็นต้น 

หลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26  ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมานั้น ได้มีองค์กรต่างๆ ด้แก่หน่วยงานราชการองค์กรพัฒนาเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ บริษัท  ห้างร้าน องค์กรเอกชน  และบุคคลทั่วไป   ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ ชาวบ้านในชุมชนบ้านน้ำเค็มอย่างล้นหลาม    แต่กระบวนการให้ความ ช่วยเหลือของแต่ละองค์กรนั้น แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันถึงระยะยาวนั้นก็มีผลกระทบต่อคนในชุมชนในด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก เช่น ปัจจัยการช่วยเหลือ ที่แตกต่างกันจนทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ที่ได้รับ  จึงเป็นตัวกระตุ้นให้ชาวบ้าน มีความต้องการ และหาผลประโยชน์ในระยะเพียงสั้นๆ มากกว่าที่จะคิดถึงกระบวนการพัฒนาในระยะยาวแบบยั่งยืน   จึงทำให้หลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่ลงมาส่งเสริมและช่วยเหลือในด้านต่างๆ   มีปัญหา ในเรื่องความซ้ำซ้อน ปริมาณความต้องการที่ไม่เพียงพอ และขยายความต้องการออกไปเรื่อยๆ อีกทั้งหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ในเรื่องบริบทอื่นๆทางสังคมของชุมชน    ลักษณะการดำเนินโครงการ   เพียงเพื่อให้หรือเพียงเพื่อได้ภาพถ่าย    แล้วกลับไปรายงานผลการดำเนินงานว่า ประสบผลสำเร็จต่อแหล่งทุนและผู้สนับสนุน  หรือมุ่งเน้นเพียงเพื่อการประชาสัมพันธ์สร้างภาพพจน์ที่ดีของหน่วยงานและองค์กร แนวทางและกระบวนการ เหล่านี้จึงนำไปสู่การสร้างปัญหา และเกิดความล้มเหลวของชุมชน   

ดังนั้นชุมชนบ้านน้ำเค็มจึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนภายในชุมชนเอง ซึ่งมี ทั้งหมดจำนวน 23 กลุ่มองค์กร ในระยะเบื้องต้น คณะกรรมการจากกลุ่มต่าง ๆ ได้มีมติร่วมกันในการจัดตั้งคณะกรรมการ กลางขึ้นมา  เพื่อประสานงานและบริหารจัดการ    โดยมีหัวหน้าจากแต่ละกลุ่ม เข้ามาเป็นกรรมการกลางตามภาพกลไกโครงสร้าง

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มชาวประมง จำนวน
50 ราย โดยให้เริ่มเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว ให้ชีวิตความเป็นอยู่กลับมา เหมือนเดิมหรือดีขึ้น หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิมากที่สุดในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

          1.       กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังบ้านน้ำเค็ม
          2.       ศูนย์ประสานงานชุมชนบ้านน้ำเค็ม
          3.       มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
          4.       บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ประเทศไทย (CENCAR LIMITED ) หรือ คาร์ฟูร์ (Carrefour)
          5.       กรมประมง
          6.       บริษัท สยาม เนเชอรัล รีซอสส์ จำกัด (SIAM NATURAL RESOURCES LIMITED)
          
ผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งบริจาคเงินหรือให้การสนับสนุนด้วยวิธีการอื่นๆ

            1.       บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ประเทศไทย (CENCAR LIMITED ) หรือ คาร์ฟูร์ (Carrefour)
             2.       บริษัท อีดีเอฟ เซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด (EDF SOUTH EAST ASIA LIMITED)
             3.       สถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (FRENCH EMBASSY IN THAILAND)
             4.       แลมเบอเรต คอนสตรัคชั่น ไอโซเทอเมส ลิมิเต็ด (LAMBERET CONSTRUCTIONS ISOTHERMES)
             5.       มูลนิธิคาร์ฟูร์ (CARREFOUR INTERNATIONAL FOUNDATION)

ข้อผูกพันของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

           1.       การจัดการองค์กรในชุมชนเพื่อช่วยเหลือชาวประมงในการจดทะเบียนขึ้นเป็นนิติบุคคล(สมาคมหรือสหกรณ์) การจัดทำระเบียบปฏิบัติของกลุ่ม ซึ่งอ้างอิงตามหลักประชาธิปไตย และจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน

           2.       จัดการฝึกอบรมการบริหารชุมชนเพื่อให้ชาวประมงผู้ร่วมโครงการมีทักษะในการบริหารที่ดี เช่น ด้านระบบบัญชี ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ  ในการทำงานร่วมกันเป็นสมาคมหรือสหกรณ์ โดยกลุ่มจะต้องจดทะเบียนกับกรมส่งเสริมสหกรณ์เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

           3.       การสนับสนุนระยะยาวเพื่อดูแลเรื่องการบริหารจัดการกลุ่มสหกรณ์ การใช้วัสดุและอุปกรณ์ การตรวจสอบบัญชี และการสนับสนุนองค์กรชุมชน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและสอดคล้องกับบริบทชุมชนในอนาคต

           4.       การจัดการด้านการเงินเพื่อดำเนินการนำเงินที่ได้จากผู้มีส่วนร่วมโดยการ บริจาคในโครงการไปใช้ในการซื้อวัสดุ-อุปกรณ์ ลูกปลา อาหารปลา การจัดการฝึกอบรม และเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการต่าง ๆ ซึ่งจะต้องรายงานค่าใช้จ่ายทั้งหมด ให้กับผู้บริจาคเงินในโครงการตลอดทั้งโครงการ

           5.       การตรวจสอบเงิน หลังจากจบโครงการฯจะต้องรายงานผลการตรวจสอบแก่ผู้มีส่วนร่วมในโครงการฯทุกองค์กร การตรวจสอบในครั้งนี้ จะมีขึ้นภายหลังลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ไม่เกิน 10 เดือน

ผลการดำเนินงาน

1.      การศึกษาชุมชนและกระบวนการกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังบ้านน้ำเค็ม    จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547   บ้านน้ำเค็มได้รับผลกระทบทาง ด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่   ประมงพื้นบ้านเรือเสียหายจำนวน 420 ลำ เรือประมงขนาดกลาง  จำนวน 79 ลำ    กลุ่มแพปลาจำนวน 14 ราย      กลุ่มเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังจำนวน 72 ราย  โรงกลึง 1 แห่ง  โรงงานปลาป่น   1 แห่ง เป็นต้น  ดังนั้นชุมชนบ้านน้ำเค็มจึงได้รวมกลุ่ม   เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน     ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 23 กลุ่มองค์กร  ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้มีกลุ่ม เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังบ้านน้ำเค็ม  เริ่มแรกที่ได้รวมตัวกันมีสมาชิก 21 ราย โดยได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นจากธนาคารชุมชนบ้านน้ำเค็ม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ช่วยเหลือเป็นกระชังรายละ 10 กระชัง   และมูลนิธิศุภนิมิต    สนับสนุนพันธุ์ปลากะพงขาวขนาด 7-8 นิ้ว    รายละ 1,000 ตัว  จากนั้นมีสมาชิกผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ เพื่ออีกจำนวน 29 ราย   รวมแล้วมีสมาชิกทั้งสิ้น 50 ราย  แต่ที่ผ่านมา สมาชิกขาดการ ประชุมติดต่อกัน 3 ครั้ง   โดยมิได้แจ้งล่วงหน้า จึงทำให้สมาชิก 5 ราย    ขาดจากการเป็นสมาชิก     จนปัจจุบันกลุ่มฯมีสมาชิกทั้งสิ้น 45 ราย นอกจากนี้มีการเปลี่ยนรายชื่อ สมาชิกจากนายแก้ว  เมืองใจ   เป็นนางสาวศุทธิณีรัตนคำ   และมีคณะกรรมการกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง บ้านน้ำเค็ม จำนวน 7 คน    

2.      การจัดการองค์กรในชุมชน    การดำเนินงานเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังบ้านน้ำเค็ม ของกลุ่มอาชีพเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในกระชังบ้านน้ำเค็ม มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชฯ ได้เสริมสร้างความเข้าใจและกำหนด กระบวนการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วม ใน 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
                       1.   การจัดกระบวนการกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยการจัดประชุม ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่ระยะเตรียมโครงการ จนถึงสิ้นสุดโครงการ (สิงหาคม 48 ถึง มิถุนายน 49)จำนวน18ครั้ง     ตามรายงานการประชุม ที่แนบมาด้วย
                       2.   การบริหารจัดการกลุ่ม การปรับปรุงกลไกบริหารจัดการ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ จากเวทีการประชุมและการฝึกอบรมบริหาร ชุมชน   ส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงกลไกบริหารจัดการ และข้อตกลงในการบริหารจัดการกลุ่ม  จากเวทีการประชุมกลุ่มฯ ใน 18    ครั้งที่ผ่านมา ส่วนทางด้านการฝึกอบรมยังมิได้ดำเนินการ เนื่องจากสภาพความพร้อมของสมาชิกในกลุ่มฯที่มีกิจกรรมมากมายจากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและ เอกชน ที่ลงไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่หมู่บ้านน้ำเค็ม    ด้านการฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงดำเนินการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม  2548    โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมประมง    ผู้เข้าร่วมจำนวน 52 คน   หัวข้อในการฝึกอบรม    ได้แก่ เรื่องเทคนิคการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง  ( การคัดเลือกพันธุ์ปลา   อัตราการปล่อยลูกปลา  การให้อาหารและ อัตราการเจริญเติบโต)      เรื่องการดูแลสุขภาพปลากะพงขาว    เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ    (Good  Aquaculture Practice : GAP)   หรือเลือกสถานที่  การจัดเลี้ยงทั่วไป อาการและการให้อาหาร   การจัดการดูแล สุขอนามัยและ   การขนส่ง การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง การเก็บข้อมูล เป็นต้น ผลการฝึกอบรมในครั้งนี้ สมาชิกกลุ่มฯมีความรู้ ความเข้าใจในระดับหนึ่ง เนื่องจากระยะเวลา ค่อนข้างจำกัด   มีเนื้อหาในการฝึกอบรมมาก  และวิทยากรใช้ภาษาสื่อสารไปในทางวิชาการ    จึงทำให้ความเข้าใจของสมาชิกฯ   มีไม่มากนัก จากนั้นได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำบัญชีฟาร์ม ครั้งที่ 2   เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2549 ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จากกรมประมงได้ดูรายละเอียด   การทำบัญชี เพื่อนำไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับความถนัดของสมาชิก
                           3.    การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าและการตลาด  ดำเนินการโดยบริษัท สยาม เนเชอรัล รีซอสส์ จำกัด หรือ SNR ทางมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ได้ส่งรายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 4 คน คือนายทวีป  ซ้ายหุย  นายวิรัต  นนทอง  นายนิคม  ทองแท้  และนายประยูร  จงไกรจักร์   ผ่านทาง ผู้ประสานงานคาร์ฟูร์ขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินงานกำลังรอการประสานกลับจากคาร์ฟูร์

3..    การสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์การจัดสร้างกระชังและการจัดสร้างที่พักบนกระชังจาก บันทึกข้อตกลงได้กำหนดให้มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯดำเนินการสั่งซื้อ วัสดุ อุปกรณ์การทำกระชัง ซึ่งเลือกโดยคาร์ฟูร์  โดยสมาชิกกลุ่มเพาะเลี้ยงฯจัดสร้างกระชัง การจัดสร้างกระชัง ดำเนินการจัดสร้างกระชังแล้วเสร็จ จำนวน 120  กระชัง  ให้แก่สมาชิกใหม่จำนวน 24 รายและเนื่องจากในพื้นที่มีความแตกต่างกันตามสภาพภูมินิเวศน์ที่สมาชิกเป็นผู้เลือกทำให้ ขนาดกระชัง  วัสดุอุปกรณ์ที่เบิกจ่ายแตกต่างกันไปมากกว่ารูปแบบเดิมที่วางไว้   จึงทำให้ต้องจัดซื้ออวนดำเพิ่ม 7 ก้อน     อีกทั้งกระชังของกลุ่ม เพาะเลี้ยงฯไม่สามารถจัดเรียงให้เป็นแนวเดียวร่วมกันได้เนื่องจากเงื่อนไขของ กระแสน้ำที่เชี่ยวแรงและพื้นที่ที่จำกัดจึงได้จัดวางกระชังเป็น   กลุ่มย่อย 4 กลุ่ม เพื่อความสะดวกในการจัดการกลุ่มย่อย การดูแลและการให้อาหารปลา

                      การสร้างที่พักบนกระชัง

เพื่อใช้ในการให้อาหารปลาและเฝ้าดูแล    แต่เนื่องจากไม่มีงบประมาณ สนับสนุน ในตอนเริ่มต้นของโครงการฯ     มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ  จึงได้นำไปเสนอในกับผู้ร่วมโครงการฯ จึงได้ข้อสรุปว่าจะให้งบประมาณที่เหลือจากการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การทำกระชังประมาณ
20,000 กว่าบาท มาจัดสร้างที่พักบนกระชัง 1 หลัง   ทางกลุ่มเพาะเลี้ยงฯ จึงตกลงร่วมกันว่ายินดีมอบให้ กลุ่มที่ 2 นายทวีป  ซ้ายหุย จำนวน 10,000 บาท   นำไปใช้ จัดสร้างบ้านบนกระชัง  ส่วนกลุ่มของนายประยูร  จงไกรจักร์นั้น   มีที่พักบนกระชังแล้วจากการสนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  ( พอช. )  มาก่อนแล้ว และกลุ่มของนายวิรัติ  นนทองและกลุ่มนายนิคม  ทองแท้นั้น ไม่มีที่พักบนกระชัง เนื่องจาก มีสมาชิกไม่ถึง  9  คน       จึงเป็นไปตาม เงื่อนไขของข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มใหญ่ จึงไม่มีสิทธิ์ในการได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับบ้านบนกระชัง สำหรับไม้และอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างบางส่วน มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ได้ประสานไปทางมูลนิธิศุภนิมิตร แห่งประเทศไทย (World Vision) ขอไม้และอุปกรณ์จากบ้านพักชั่วคราวในบ้านน้ำเค็ม   เป็นการลดค่าใช้จ่ายบางส่วน     และจัดสร้างบ้านพักบนกระชัง  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 
                        เครื่องมือช่วยเหลือปลาที่เป็นโรค

 จากการประชุมร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องที่กรุงเทพมหานคร กรมประมงได้เสนอให้มีเครื่องช่วยเหลือปลาที่เป็นโรค แต่เนื่องจากไม่มีอยู่ในแผน งบประมาณ   ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฯ จึงต้องประชุมพิจารณาในโอกาสต่อไป

4.     การสั่งซื้อลูกปลา   มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯได้ดำเนินการสั่งซื้อลูกปลา  ซึ่งเลือกโดยคาร์ฟูร์ตามบันทึกข้อตกลง (M.O.U)    ซึ่งคาร์ฟูร์ได้สั่งซื้อ ลูกปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้ว     จากฟาร์มคุณประสงค์ที่จังหวัดสตูล  จำนวน 4  ครั้ง และสุรัตน์ฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 ครั้ง นอกจากนี้กลุ่มย่อย นายวิรัต  นนทอง ดำเนินการจัดสั่งซื้อลูกปลาเองจำนวน 10,000 ตัว จากสุรัตน์ฟาร์ม 1 ครั้งเช่นกัน    อยู่ในระหว่างการดำเนินการเบิกจ่ายกับทาง ธนาคารชุมชนบ้านน้ำเค็ม
                ครั้งที่ 1 จำนวน 6,000 ตัว เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 แต่พบว่ามีลูกปลากะพงขาวตายระหว่างขนส่ง ประมาณ 600 ตัว หลังจากนั้นได้นำไป เพาะเลี้ยงในกระชังของสมาชิก ปรากฏว่าลูกปลายังคงตายอยู่เรื่อย ๆ ประมาณกว่า 2,000  ตัว  
                ครั้งที่ 2  จำนวน  600  ตัว  ชดเชย 2,300  ตัว เมื่อวันที่  21   ตุลาคม  2548
                ครั้งที่ 3  จำนวน  3,800 ตัว เมื่อวันที่  26   ตุลาคม  2548
               ครั้งที่ 4  จำนวน  2,400 ตัว ชดเชย 600  ตัว เมื่อวันที่  8  พฤศจิกายน  2548   (ลงบิลวันที่  6 พฤศจิกายน 2548)
                ครั้งที่ 5 จำนวน 10,000  ตัว เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549
                ครั้งที่ 6 จำนวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 4549  (อยู่ในช่วงระหว่างทำการเบิกจ่ายจาก ธนาคารชุมชนบ้านน้ำเค็ม)

5.    การสั่งซื้ออาหารปลา
                      1.    ให้แต่ละกลุ่มย่อยดำเนินการจัดหาจัดซื้ออาหารปลากันเองภายในกลุ่มและจัดทำบัญชีกลุ่มย่อยฯ  แต่ละกลุ่ม โดยสมาชิกกลุ่มย่อยจะต้องมีส่วนรับรู้ราคาอาหารปลาและปริมาณอาหารปลาที่ทำการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง 
                      2.    ให้กลุ่มย่อยดำเนินการเบิกจ่าย ผ่านทางธนาคารชุมชนบ้านน้ำเค็ม โดยมีบันทึกการประชุมกลุ่มย่อยแนบท้าย แจ้งให้คณะกรรมการกลุ่มฯอนุมัติ 

6.     การซื้อวัสดุ-อุปกรณ์สำหรับสร้างห้องเย็น    การดำเนินการโดยหน่วยงานที่สนับสนุนเอง สำหรับกลุ่มเพาะเลี้ยงฯ ได้ดำเนินการ คัดเลือกที่ดินสำหรับจัดสร้างห้องเย็นไว้ 2 แห่ง คือ
                    1.       นายทศพล  เมืองแดง  เนื้อที่ประมาณ 47 ตารางวา ยังไม่ได้เสนอราคาที่ดิน
                    2.       นางอารีรัตน์  รักแก้ว  ยังไม่ได้เสนอราคาที่ดิน
แต่เนื่องจากตามแผนงบประมาณโครงการไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้สำหรับซื้อที่ดินจัดสร้างห้องเย็น จึงต้องดำเนินการปรึกษาหารือ ภายในกลุ่มฯ และหน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ

7.      การบริหารจัดการการเงิน-บัญชีและการเบิกจ่ายของกลุ่ม การบริหารจัดการการเงิน-บัญชีและการเบิกจ่ายให้ดำเนินการเป็นไปตามกฎระเบียบของกลุ่มฯ และขั้นตอนการเบิกจ่ายค่าพันธุ์ปลา อาหารปลาและอื่นๆ สมาชิกกลุ่มเพาะเลี้ยงฯทุกคนต้องมีใบเสร็จที่มีรายละเอียดดังนี้
                       1.       ชื่อกลุ่มอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังบ้านน้ำเค็มหรือชื่อองค์กรมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า      และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ
                       2.       ที่อยู่ของผู้ขายพันธุ์ปลา  อาหารปลา และอื่นๆ
                       3.       รายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณ  ขนาด  ราคาต่อหน่วยของพันธุ์ปลา อาหารปลาและอื่นๆ ที่ซื้อ-ขาย ปัจจุบันราคาอาหารปลาหรือ ปลาเหยื่อมีราคาแพงขึ้น สมาชิกบางส่วนจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เพราะอัตราการได้เนื้อของอาหารเม็ดที่ใช้ ประมาณ 1.3 – 2 กก./เนื้อปลา 1 กก.   ในขณะที่ปลาเหยื่อจะต้องใช้ 3-4 กก./เนื้อปลา 1 กก  . อีกทั้งสะดวก  ประหยัดเวลา มากกว่า  กำลังเป็นประเด็นแลกเปลี่ยนระหว่างกันของสมาชิกภายในกลุ่มฯ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตต่อไป

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: