เป้าหมายหลักขององค์การ
เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านทั้งในระดับเครือข่ายและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
วัตถุประสงค์ขององค์การ
- เพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กรชาวประมงพื้นบ้าน
- เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอาชีพประมงพื้นบ้านให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน
- เพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งที่เหมาะสมขององค์กรชาวประมงพื้นบ้าน
โครงสร้างภายในองค์การ
โครงสร้างการดำเนินงานองค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูธรรมชาติอันดามัน ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญคือ
- การพัฒนาองค์กรชาวบ้านในระดับชุมชนและเครือข่าย
- การสนับสนุนการพึ่งตนเองขององค์กรชาวบ้าน โดยดำเนินงานในรูปของการ ส่งเสริมกองทุนชุมชนและธุรกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ
- การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง โดยเฉพาะป่าชายเลนและเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ
- การพัฒนาสตรีและเยาวชน โดยดำเนินงานการสนับสนุนสตรีและ เยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
- การรณรงค์เผยแพร่โดยการศึกษาข้อมูลชุมชน และทรัพยากรเพื่อการเผยแพร่ทั้งในชุมชนและสาธารณชน
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูธรรมชาติอันดามัน เป็นสมาชิกของเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานกับชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ทั้งหมด 5 องค์กร ทำงานอยู่ประมาณ 200 หมู่บ้านประมงทั่วภาคใต้ องค์กรเหล่านี้จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน การรณรงค์ ปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันสม่ำเสมอกว่า 10 ปี ในส่วนของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยฯ มีการดำเนินโครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งทะเลในภาคใต้ จะมีส่วนร่วมในการดำเนินการองค์การด้วย โดยเป็นหนึ่งในองค์กรเอกชนที่เป็น คณะกรรมการบริหารงานองค์การ นอกจากนี้โครงการยังมีการประสานงานร่วมกับ กลุ่มประชาคมเมืองต่างๆของทุกจังหวัดในการดำเนินกิจกรรม ร่วมผลักดันงานพัฒนาสังคมต่างๆ
วิสัยทัศน์
- เสริมสร้างองค์กรชุมชนชายฝั่ง ให้เกิดความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและอำนาจต่อรองในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพึ่งพาตนเอง อย่างมั่น สมดุลและคงยั่งยืน
- สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนและสาธารณชน ในการดำเนินงานและสนับสนุนองค์กรชุมชนชายฝั่ง
พันธกิจ / แนวทางการทำงาน
- การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนและเครือข่ายอ่าวพังงาให้มีประสิทธิภาพและอำนาจต่อรอง ในการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนชายฝั่งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรมตอบสนองต่อเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนสู่สากล
- การติดตาม พัฒนาและรณรงค์นโยบายสาธารณะที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและองค์กรชุมชน
- การณรงค์เผยแพร่และเสริมสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนและสาธารณะ
- การสร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนและองกรค์ชุมชนชายฝั่ง
|