homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

     
 
 
ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพะยูน

ความสำคัญในเชิงวัฒนธรรม

* ชุมชนชาวอะบอร์ริจิน และ ชาวเกาะ Torres strait

ถือว่าพะยูนเป็นมรดกตกทอดทั้งทางสังคมและความเชื่อทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของพวกเขามอบไว้ให้ มีเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมที่บันทึกเรื่องความเชื่อทางวิญญาณที่สำคัญๆเกี่ยวกับพะยูน คุณค่าความสำคัญของพะยูนได้รับการยอมรับ และมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตในงานพิธีพิเศษต่างๆ พะยูนถูกล่าและนำมาฉลองในงานประเพณีที่สำคัญและงานพิธีกรรมทางสังคม เช่น งานแต่งงาน และ งานศพ การแบ่งปันและการจำหน่ายจ่ายแจกเนื้อจากตัวพะยูนกลายเป็นวัฒนธรรมทางสังคมที่แข็งแกร่ง และมีความสำคัญในเชิงทฤษฎีทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน

การล่าพะยูนของชาวพื้นเมือง

พะยูนถูกล่าโดยชาวอะบอร์ริจิน และ ชาวเกาะ Torres strait มาเป็นเวลามากกว่า 1,000 ปีแล้ว ชุมชนได้มีการเลือกหรือกำหนดว่าใครบ้างที่สามารถจับมันได้ และวิธีการจับนั้นต้องใช้วิธีไหน นักล่าพื้นเมืองจะได้รับการเลือกโดยคนในชุมชนของพวกเขา
ตามประเพณี พะยูนถูกล่าด้วยการขว้างฉมวกที่มัดด้วยเชือกจากเรือแคนู และจะถูกนำมามัดหางจนกระทั่งมันจมน้ำตาย ปัจจุบันได้ถูกแทนที่โดยเรือแคนูที่มีเสากระโดงใบเรือ (Bark canoes) นักล่าจะใช้ เรือบดอลูมิเนียม และใช้เครื่อง speed boat outboard เพื่อหาพะยูน ขณะที่เทคโนโลยีได้เข้าไปเปลี่ยนชุมชนชาวอะบอร์ริจินไป การล่าพะยูนตามประเพณีที่สำคัญไม่มีแล้ว แต่มันมีการล่าเพื่อจำหน่าย และการล่านี้ไม่ได้ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วยกันแบบในประเพณีดั้งเดิมเหมือนเมื่อก่อน
เนื้อพะยูนเป็นแหล่งของโปรตีนที่สำคัญ สำหรับกลุ่มชุมชนพื้นเมืองที่อยู่ห่างไกล พะยูนตัวใหญ่ๆจะมีเนื้อหลายกิโลกรัม พื้นที่ที่ยังคงมีพะยูนอาศัยอยู่จะเป็นพื้นที่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจในเชิงแหล่งอาหารต่อชาวพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีค่าในเชิงวัฒนธรรมการล่า และการจำหน่ายเนื้อ ชุมชนพื้นเมืองใน Great Barrior Reef Marine Park (GBRMP) มีผลเกี่ยวกับการลดจำนวนลงของพะยูนอย่างเห็นได้ชัด แต่ในหลายๆชุมชนเริ่มตระหนัก และกำลังเปลี่ยนกลายไปสู่การอนุรักษ์และการจัดการพะยูนในอนาคต

นิทานพื้นบ้านกับวิถีชีวิตของชุมชน กับความเชื่อเรื่องพะยูนเป็นมาอย่างไร ?

นานมาแล้ว มีหญิงชรากับลูกสาว อาศัยอยู่ใน เงอรีเบล แฮมเลต บนเกาะKoror.เมื่อลูกสาวตั้งท้อง, แม่ของเธอบอกเธอว่าอย่าไปกิน Keam, Polynesian chestnut,เพราะมันเป็นอาหารต้องห้ามของคนตั้งครรภ์. แต่หล่อนไม่ยอมเชื่อคำเตือนของแม่ และอีกหลายเดือนต่อมา เธอก็ได้ให้กำเนิดลูกสาวออกมา. ในวันหนึ่งขณะแม่ของเธอไปหาขุดเผือก เธออยู่บ้านเพื่อดูแลลูกของเธออยู่ เธอมีความ อยากที่จะกิน Keam อย่างมาก และเธอคิดว่าถ้าวันใดที่แม่ของเธอไม่อยู่ เธอก็จะกินมัน และเธอก็พยายามที่จะเอาแกะเนื้อของ Keam ออกจากเปลือก. ทันใดนั้นเอง แม่ของเธอก็ปรากฎที่ประตู หล่อนตกใจและละลายใจมาก มองไปที่แม่ แล้วอุ้มลูกของหล่อนแล้ววิ่งออกไปที่ท่าเรือ ชาวบ้านทั้งหลายก็วิ่งตามไปดูเธอ ที่ท่าเรือ เธอกระโดดลงไปในน้ำและเริ่มว่ายน้ำออกไป แล้วชาวบ้านก็ตะโกนบอกเธอจากที่ท่าเรือว่า เธอเปลี่ยนเป็นพะยูนไปแล้ว.

สถานการณ์ของพะยูนในประเทศไทย

การศึกษากระจายพันธุ์ของพะยูนในประเทศไทย มีไม่มากนักโดยสุรพลและคณะ,2534 รายงานว่าช่วงปี 2524-2534 ชาวบ้านบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนพบพะยูนประมาณ 30 ตัว บริเวณแนวหญ้าทะเลในอ่าวคุ้งกระเบน ต่อในปี 2534 เริ่มมีการสำรวจพะยูนจริงจัง โดยทีมสำรวจจากกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ และสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล กรมประมง และองค์กรหรือสถาบันอื่นๆ ก็เริ่มมีการเก็บข้อมูลเรื่องพะยูนกันมากขึ้น เช่น หน่วยวิจัยปะการังและหญ้าทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพะยูนและหญ้าทะเลบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี (Sudara et al. 1991) ในองค์กรเอกชน เช่น สมาคมหยาดฝน จังหวัดตรัง โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเล มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืช แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์. มีการเก็บข้อมูลสถิติการพบพะยูนในบริเวณน่านน้ำทะเลตรัง บริเวณเกาะตะลิบง-เกาะมุกด์ และอ่าวสิเกาตอนเหนือ การสำรวจพะยูนทางอากาศได้เริ่มทำการศึกษาในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลที่เกาะมุกด์และเกาะตะลิบง จังหวัดตรัง ในปี พ.ศ.2534 - 2535 พบพะยูนสูงสุดจำนวน 61 ตัว (สุวรรณ และคณะ, 2536)

ในประเทศไทยเคยมีพะยูนอาศัยอยู่ทั้งด้านฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทย รวมทั้งทางฝั่งทะเลอันดามัน พะยูนที่พบในน่านน้ำไทยเคยพบกระจายอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล (Sudara et al. 1991 ; Nateekanjanalarp and Sudara, 1992 ; สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ , 2537 ; สุพจน์และกาญจนา, 2537 ; สุวลักษณ์และสุรพล, 2537 ; กาญจนา และคณะ, 2539)

 

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: