วิกฤตการณ์ทรัพยากรประมงไทย
ผลพวงจากการพัฒนาประเทศ ที่มีแนวคิดที่จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ โดยนำทรัพยากรมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย และขาดวิสัยทัศน์และการวางแผน การจัดการที่ดี นำไปสู่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และความล่มสลายของ ชุมชนในหลายๆพื้นที่ โดยเฉพาะชุมชนประมงพื้นบ้านที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล รวมถึงชุมชนประมงพื้นบ้านที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ และแหล่งน้ำจืดต่างๆ ที่มีวิถีชีวิตพึ่งพาทรัพยากรประมงจากแหล่งน้ำต่างๆ
มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
รัฐบาลไทยในอดีตได้เริ่มมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๙) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การประมงไทยก็ได้เริ่มพัฒนาขึ้น มีการนำเอาเครื่องมืออวนลากหน้าดินแบบแผ่น
ตะเข้เข้ามาทดลองใช้ในน่านน้ำไทย และได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก รัฐฯจึงให้การสนับสนุนการทำประมงอวนลากแก่เอกชน กองเรือประมงไทยภายใต้ระบอบการทำประมงแบบเสรีจึงเริ่มขึ้นสำแดงเดชในคาบ
สมุทรมาลายูและบริเวณใกล้เคียง
จากสถิติการประมงในปี พ.ศ.๒๕๐๔ เรืออวนลากสามารถจับสัตว์น้ำได้ในอัตราเฉลี่ย ๒๙๗.๖ กก. ต่อการลาก ๑ ชม. ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจับของเครื่องมืออวนลาก และความสมบูรณ์ของทรัพยากร
ประมงในทะเลไทยในอดีต ในปี ๒๕๒๘ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เฉลี่ยลดลงเหลือ ๕๔ กก./ ชม. โดยเครื่องมือชนิดเดียวกัน และในปี ๒๕๔๑ ลดลงเหลือ ๗ กก./ ชม. เท่านั้น และปลาที่จับได้เป็นปลาเล็กปลาน้อยที่ไม่มี
ราคา หากไม่คิดหาทางแก้ไขวิกฤตนี้แล้ว คาดกันว่าภายในปี ๒๕๔๖ จะเหลือปลาให้จับไม่เกิน ๑ กิโลกรัมต่อชั่วโมง จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นความเสื่อมโทรมของทะเลไทยเข้าสู่วิกฤตแล้ว
ในส่วนของผลผลิตของประมงในแหล่งน้ำจืดก็เช่นเดียวกัน ได้รับผลกระทบจากการทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ปัญหาน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชน การทำลายป่าไม้แหล่งต้นน้ำลำธาร โครงการ
พัฒนาของรัฐขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำที่ปราศจากการศึกษาวิจัยที่รอบคอบ ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์สัตว์น้ำ และนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของ
ทรัพยากรประมงในแหล่งน้ำจืดในอนาคต
|