homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

     
 
 

ป่าพรุ (Peat Swam Forest)

ป่าพรุคืออะไร?

ป่าพรุ เป็นสังคมพืชป่าไม้ที่มีเอกภาพในลักษณะโครงสร้างและ ความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ เกิดในภูมิประเทศที่เป็นที่ลุ่มต่ำหรือมีสภาพเป็นแอ่งน้ำจืดขังติดต่อกันตลอดปี และมีการ สะสมของชั้นอินทรีย์วัตถุหรือดินอินทรีย์หนามากหรือน้อยอยู่เหนือชั้นดินแท้ๆ การสะสมของซากพืชและอินทรีย์วัตถุจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันในสภาวะน้ำท่วมขัง พืชพรรณในป่าพรุส่วนใหญ่ จึงมีวิวัฒนาการในส่วนของอวัยวะให้มีโครงสร้างพิเศษ เพื่อดำรงชีพอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ได้ เช่นโคนต้นมีพูพอน ระบบรากแก้วสั้น แต่มีรากแขนงแผ่กว้างแข็งแรงมีระบบรากพิเศษ หรือระบบรากเสริม ได้แก่รากค้ำยัน หรือรากหายใจโผล่เหนือชั้นดินอินทรีย์ที่มีน้ำเหลืออยู่เป็นเนืองนิจ ช่วยในการพยุงลำต้นหรือช่วยในการหายใจ ซึ่งจะพบเป็นไม้ขนาดเล็กไปจนถึงขนาด ใหญ่ ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของป่าพรุนี้จะแตกต่างจากป่าดิบชื้นในเขตร้อนต่างๆด้วยเอกลักษณ์ที่แตกต่าง จากสังคมพืชป่าชนิดอื่นสังคมพืชป่าพรุที่แท้จริงเพิ่งจะเป็นที่รู้จักกันเมื่อประมาณ 10 ปีล่วงมาแล้วขณะที่ได้มีโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย โดยเฉพาะโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุในจังหวัดนราธิวาส

ป่าพรุเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ป่าพรุจะพบบนพื้นที่ใกล้ฝั่งทะเลในเขตร้อนชื้นที่มีฝนตกชุก โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีสูงกว่า 2,300 มิลลิเมตร เช่น พื้นที่ใกล้ฝังทะเลของประเทศมาเลเซีย ในจังหวัดนราธิวาสมีปริมาณน้ำฝนรายปีโดยเฉลี่ย 171 วันต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยระหว่าง 77 - 83 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่มีปริมาณฝนตกมากที่สุด ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ช่วงแล้งที่สุดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ในช่วงฤดูฝนพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด ถูกน้ำท่วมไหลบ่าลงสู่ทะเลเป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ตามสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมเพียงปัจจัยเดียว ไม่สามารถเอื้ออำนวยให้เกิดป่าพรุขึ้นได้ถ้าขากพื้นที่พรุ ดังนั้นเมื่อลำดับขั้นตอนของการปรากฏสังคมพืชป่าพรุ จึง ต้องพิจารณาถึงการเกิดพื้นที่พรุไปด้วยพร้อมกัน

ประเทศไทยมีป่าพรุที่ไหนบ้าง?

ในประเทศไทยมีรายงานพื้นที่ป่าพรุประมาณไม่ต่ำกว่า 400,000 ไร่ กระจัดกระจายอยู่ทางภาคตะวันออก (โดยเฉพาะ จ.ตราด) และส่วนใหญ่พบทางภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่พรุถึง 283,350 ไร่ และเมื่อปี พ.ศ. 2528 มีรายงานสำรวจพื้นที่ป่าพรุในจังหวัดนราธิวาส พบว่าพื้นป่าพรุที่ยังคงสภาพดั้งเดิมเป็นสังคมพืชป่าไม้ผืนใหญ่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวคือ ป่าพรุโต๊ะแดง ในเขตอำเภอตากใบ สุไหงปาดี และสุไหงโกลก มีเนื้อที่เหลืออยู่ไม่เกิน 50,000 ไร่ และใน พ.ศ. 2534 ป่าพรุโต๊ะแดงมีเนื้อที่เหลืออยู่ไม่เกิน 10,000 ไร่ พื้นที่ป่าพรุทั้งประเทศส่วนใหญ่ได้ถูกเปลี่ยนสภาพไปเนื่องจากการพัฒนา พื้นที่พรุ หลายแห่งเกือบจะไม่ปรากฏร่องรอยและอีกหลายแห่งเปลี่ยนสภาพไปเปลี่ยนพรุเสม็ดที่มีต้นเสม็ดขึ้นกลุ่มเดียวล้วนๆ หรือเป็นทุ่งหญ้ากกเวิ้งว้างที่ไม่มีศักยภาพทางเกษตรกรรม พื้นที่พรุเสื่อมสภาพเหล่านี้ปรากฏชัดเจน ทางฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง มีเนื้อที่รวมกันนับแสนไร่

พรรณพืชในป่าพรุ

ในป่าพรุมีพืชพรรณกลุ่มเด่นๆ หลายกลุ่ม แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ความหนาของชั้นอินทรีย์วัตถุ และระดับน้ำในพรุ พื้นที่ตามขอบป่าพรุมักจะมีกลุ่มไม้หรือสังคมพืชหลากหลาย เนื่องจากป่าพรุมีเขตติดต่อกับสังคมพืชประเภทอื่น เช่น สังคมพืชริมลำน้ำ - ลำคลอง สังคมพืชกินหญ้า - กกบนพื้นที่ชุ่มแฉะ และสังคมพืชป่าพรุดั้งเดิมที่ถูกทำลายจนสิ้นสภาพ เป็นต้น กลุ่มพืชพรรณเด่นๆ ที่พบตามขอบป่าพรุโต๊ะแดง เช่น
กลุ่มหลุมพีและสาคู (Eleiodoxa conferta - Metroxylonsagus)
กลุ่มเสม็ด (Melaleuca cajuputi)
กลุ่มมังตาลและกันเกรา (Schima wallichii - Fagraea fagragrans)
กลุ่มย่านลิเภาและโคลงเคลง (Lygodium - Melastoma)
กลุ่มผักกูดขม (Blechnum indicum)
ฯลฯ

ดังนั้นในการระบุว่ากลุ่มพืชพรรณใดเป็นของสังคมพืชป่าพรุดั้งเดิม หรือสังคมพืชป่าพรุดั้งเดิม หรือสังคมพืชป่าพรุที่เปลี่ยนสภาพ หรือเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างสังคมพืชป่าพรุกับสังคมพืชอื่นๆ จะต้องพิจารณาถึงลักษณะโครงสร้างของป่าพรุ ระบบรากเสริมของต้นไม้ในป่าพรุและความแตกต่างของชนิดพรรณไม้หลายชนิด ขึ้นในป่าพรุดั้งเดิมมีลำต้นและเรือนรากเสริมที่เด่นชัดพอสังเกตได้ดังนี้

1. ต้นมีพูพอน (ลำButtress) เที้ยะ (Alstonia spathulata)
กาแดะ (Dialium patens)
อกปลาช่อน (Endiandra macrophylla)
หว้าหิน (Eugenia curtisii)
กราดา (Parishia insignis)
2. รากค้ำยัน
(Buttressroot หรือ Stilt root)
ยากา (Blumeodendron kurzii)
ตังหน (Calophyllum leysmannii var. inophylloide)
ขมิ้น (Chisocheton divergens)
รัก (Melanochyla bracteata)
3. รากหายใจ (Pneumatophore) แบบหลักหมุด
หลุมพี (Eleiodoxa conferia)
หวายสะเดาน้ำ (Korthalsia lacininiosa)
อ้ายบ่าว (Stemonurus secundiflorus)
แบบหัวเข่า : รากหายใจจะโค้งงอที่ปลายคล้ายรูปหัวเข่า
สะเตียว (Ganua motleyna)
ช้างไห้ (Neesia malayana)
แบบบ่วงครึ่งวงกลม
เลือดควายใบใหญ่ (Horsfieldia crassifoiia)
ซีลีแยยากา (Xylopia fusca)
แบบอักษรวายกลับ
ตันหยงป่า (Elaeocarpus macrocerus)
ฯลฯ

สัตว์ในป่าพรุ

จากการศึกษาชนิดและสถานภาพของทรัพยากรสัตว์ป่า ในบริเวณป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส พบสัตว์ดังนี้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน
1. ค้างคาวขอบหูขาวเล็ก
2. ค้างคาวขอบหูขาวกลาง
3. ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน
4. ค้างคาวเล็บกุด
5. หนูท้องขาว
6. หนูฟานเล็ก
7. หนูควาย
8. นางอาย
9. ลิงแสม
10. ลิงกัง
11. หมูป่า
12. ลิ่น
13. กระจงเล็ก
14. นากใหญ่ขนเรียบ
15. นกเล็บสั้น
16. เสือปลา
17. แมวดาว
18. เสือไฟ
19. แมวป่าหัวแบน*
20. ค้างคาวปีกจุด*
21. ค่างดำ*
22. กระรอกสามสี*
23. กระรอกบินแก้มแดง*
24. บ่าง*
25. กระรอกบินแก้วแดง***
26. ค้างคาวคายัค***
27. หนูสิงคโปร์***
28. นกตะกรุม*
29. นกปากกบพันธุ์ชวา*
30. นกกระเต๊นน้อยแถบอกดำ*
31. นกตบยุงมาเลเซีย*
32. นกจับแมลงสีฟ้ามาเลเซีย***
33. นกกางเขนหางแดง***
34. นกเปล้าแดง**
35. นกขุนแผนหัวดำ**
36. นกขุนแผนหัวดำ**
37. นกขุนแผนท้ายทอยแดง**
38. นกเปล้าใหญ่ปักษ์ใต้**
39. นกเค้าแดง**
40. นกเงือกดำ**
41. นกโพระดกหลากสี**
42. นกกลางเขนแดง**
43. นกจับแมลงสีฟ้ามาเลเซีย**
44. เต่าหับ
45. เต่าดำ
46. งูงวงช้าง
47. งูปลิง
48. งูไซ
49. งูสายรุ้ง
50. งูเหลือมอ้อหรืองูหัวกะโหลก
51. งูบองหลาน้ำ
52. จิ้งจกดิน
53. จิ้งเหลนหลากหลาย
54. จิ้งเหลนบ้าน
55. งูลิง
56. งูเห่า
57. งูสามเหลี่ยม
58. งูจงอาง
59. เต่าใบไม้
60. เต่าหวาย
61. กิ้งก่าบินปีกห้าแถบ
62. กิ้งก่าเขียว
63. กิ้งก่าแก้ว
64. จิ้งเหลนต้นไม้
65. จิ้งจกหางหนาม
66. งูปล้องทอง
67. งูปาล์มหรือกะปะค่าง

*อยู่ในกลุ่มพบเห็นได้ยาก | **อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ | ***พบเห็นครั้งแรกในประเทศไทย

ความสำคัญของป่าพรุ

ป่าพรุเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะเป็นแหล่งพันธุกรรมของพรรณไม้ป่าที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ และพรรณไม้ที่หายากอีกหลายชนิดในประเทศไทย นอกจากพรรณไม้เศรษฐกิจใช้ใน การก่อสร้างดังกล่าวแล้ว ยังมีพรรณไม้ป่าพรุอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ เช่น หมากแดง หมากงาช้าง เต่าร้าง กะพ้อ รัศมีเงิน เป็นต้น พรรณไม้ป่าพรุหลายชนิดอาจจะนำมาใช้คัดเลือกพันธุ์หรือ ใช้เป็นต้นตอในการสร้างสวนผลไม้ เช่น มะมุด มะม่วงป่า เงาะป่า และหลุมพี ปาล์มและหวายบางชนิดใช้ในกสรก่อสร้างและทำครัวเรือน เช่น หลาวชะโอน หวายตะคล้าทอง พรรณไม้หลายชนิดเป็นอาหารของสัตว์ป่า เช่นหลุมพี สะเตียว หว้าหิน ชมพู่เสม็ด เงาะป่า สะท้อนพรุ มะมุด มะม่วงป่า และมะเดื่อต่างๆ รวมทั้งพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น จันทนา กาพุ่ม เทพี สักชี อบเชย ข่าลิง หลาว จันทน์แดง บอนจีน ฯลฯ

ป่าพรุนอกจากจะประกอบด้วยไม้และของป่าที่อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดดังที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีปลาบางชนิดที่พบเฉพาะในป่าพรุ เช่น ปลาดุกรำพัน เมื่อเปรียบเทียบ ความหลากหลายของชนิดสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าพรุดั้งเดิมกับพื้นที่อื่นๆ รอบป่าพรุ เช่น ป่าเสม็ด ทุ่งนา ทุ่งกระจูด ฯลฯ พบว่าสัตว์ป่าสัตว์ป่าชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์และสัตว์ป่าที่มีจำนวนลดลงไปจนอาจจะอยู่ในภาวะใกล้ สูญพันธุ์ได้นั้น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่าพรุดั้งเดิม

ป่าพรุยังให้ข้อมูลด้านการวิวัฒนาการของสังคมพืช การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศของท้องถิ่นครั้งอดีตกาล ข้อมูลเหล่านี้ ได้จากการวิเคราะห์ซากเรณูดอกไม้ ที่ถูกเก็บรักษา คงสภาพไว้อย่างดี ปะปนอยู่ในชั้นดินตะกอนและชั้นอินทรีย์วัตถุของพืชและจำนวนเรณูของพืชและจำนวนของเรณูแต่ละชนิดในชั้นต่างๆ ตามวิธีการวิเคราะห์ซากเรณู ที่บ่งบอกอย่างชัดแจ้งถึงวิวัฒนาการของพื้นที่ พรุตั้งแต่แรกเริ่มจนกลายมาเป็นสังคมพืชป่าพรุในปัจจุบันได้

การทำลายป่าพรุ

ประเทศไทยมีป่าพรุอยู่เพียงแห่งเดียวในขณะนี้ คือ ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และป่าพรุยังมีสภาพเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของดินชั้นอินทรีย์และภาวะน้ำแช่ขัง ในพรุ จะทำให้ระบบนิเวศของป่าพรุธรรมชาติเสียไปพร้อมกับสมดุลธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ ปี พ.ศ.2527 พื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดงเหลืออยู่ประมาณ 50,000 ไร่ ปัจจุบันพบว่าพื้นที่ป่าพรุดังกล่าว เหลืออยู่ไม่เกิน 10,000 ไร่ ในช่วงปี 2527 - 2534 ป่าพรุธรรมชาติได้ถูกทำลายลงในอัตราที่น่าวิตกโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 6,000 ไร่

ป่าพรุถูกทำลายได้อย่างไร

1. การตัดไม้ทำลายป่า
2. การตัดถนนผ่าป่าพรุ และโครงการพัฒนาต่างๆ ของป่าพรุ
3. ไฟไหม้ ซึ่งป่าพรุธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์อยู่นั้นไฟไหม้ได้ยาก เพราะเป็นพื้นที่ๆ มีน้ำขังตลอดปี

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: