homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 

“ป่าพรุคันธุลี”

การ จัดทำแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตพรุคันธุลี  
อำเภอท่าชนะจังหวัดสุราษฎร์ธานี"  เป็นรายงานผลการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชน
ท้องถิ่นกับ    การอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ   ที่ดำเนินการในช่วง
.. 2539 - 2540      โดยฝ่ายวิชาการและนโยบายอนุรักษ์     มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า
และพรรณพืชฯ  ในการดำเนินการศึกษาในครั้งนี้  ได้รับมอบหมายจากสำนักงานนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อม  กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
    การจัดทำแผน
ปฏิบัติการ        มีวัตถุประสงค์เพื่อ  กำหนดแนวทางในการอนุรักษ์   และการใช้ประโยชน์
ทรัพยากรชีวภาพ  ในพื้นที่ชุ่มน้ำพรุคันธุลี  ซึ่งมีความหลากหลาย เพื่อคงความเป็นถิ่นที่อยู่
อาศัย ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน  เพื่อเป็นแนวทางที่จะประยุกต์ใช้กับพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยแห่ง
อื่นต่อไป    ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานให้สอดคล้อง ตามพันธะกรณีของ
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ    เพื่อให้การจัดการแผนปฏิบัติการสอดคล้อง
กับระบบนิเวศและสังคม    จึงได้มีการเน้นศึกษาลักษณะทางกายภาพ ระบบนิเวศของป่าพรุ
ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในอดีตและปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจและสังคม และภูมิปัญญา
ชาวบ้าน   ในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพ          โดยการสำรวจภาคสนาม
การสัมภาษณ์ เชิงลึก  และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม   การศึกษายังได้เน้นให้ชุมชนเป็น
แกนกลาง  ในการจัดการพรุคันธุล   ีโดยการสร้างแรงจูงใจและจิตสำนึก   รวมทั้งสร้างเสริม
ความเข้มแข็งให้แก่องค์กรชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ

            “ป่าพรุคันธุลี”  เดิมเป็นระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่    ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ
875 ไร่ น้ำในพรุมีสภาพเป็นกรด มีคุณสมบัติเป็นน้ำอ่อน ซึ่ง Phytoplankton เจริญเติบโต
ได้ดี    ขณะเดียวกันพบปริมาณสารเคมีหลายชนิด   ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ   สูงเกินค่ามาตรฐาน
เนื่องจากมีการใช้ยาปราบศัตรูพืช  ในพื้นที่การเกษตรรอบป่าพรุในปริมาณสูง    ในด้านความ
หลากหลายทางชีวภาพ    สำรวจเบื้องต้น     พบพรรณพืช
36 ชนิด    พรรณปลา 29 ชนิด
สัตว์ป่า
98 ชนิด   และยังพบหอยทาก 2 ชนิด   ที่ไม่มีรายงานพบในประเทศไทยมาก่อน
ชุมชนรอบพรุคันธุลี เกิดจากการอพยพย้ายถิ่นจากชุมชนใกล้เคียง รวมทั้งนครศรีธรรมราช
และจังหวัดในภาคกลาง ก่อนสงครามโลกครั้งที่
2 มาเป็นลำดับ     ระบบการผลิตของชุมชน
ต้องอาศัยแหล่งน้ำจากป่าพรุ โดยเฉพาะสวนผลไม้ การศึกษาพบว่าชุมชนรอบพรุใช้ประโยชน์
จากความหลากหลายทางชีวภาพโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
และเป็นรายได้   อย่างไรก็ตาม  ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศของป่าพรุ
และชุมชนคือ   การถือครองที่ดิน  ทั้งที่เป็นกรรมสิทธิ์เอกชน    และการเป็นพื้นที่สาธารณ
ประโยชน์    มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าพรุมาก่อน
จากการศึกษา มีข้อสรุปและข้อเสนอแนะว่า เพื่อให้ป่าพรุคันธุลีได้รับการฟื้นฟู มีการจัดการ
และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ควรมีการดำเนินการดังนี้คือ

  1. ดำเนินการจัดระบบกรรมสิทธิ์ใหม่ โดยการนำที่ดินที่เป็นป่าพรุกลับคืนมาและปล่อยให้มีการ
    ฟื้นตัวตามธรรมชาติ
  2. พื้นที่ป่าพรุคันธุลีและพื้นที่รับน้ำควรได้รับการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองโดยมีกฎเกณฑ์การ
    ใช้ประโยชน์ที่ดินที่สอดคล้องกับระบบนิเวศป่าพรุ
  3. ดำเนินการให้ป่าพรุคันธุลีเป็นแหล่งศึกษาด้านธรรมชาติวิทยาในฐานะเป็นหนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำ
    ของภาคใต้ตอนบนที่มีการดูแลรักษาโดยชุมชน
  4. ดำเนินการให้มีกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับคนท้องถิ่นและผู้สนใจ   การสนับสนุน
    ให้องค์กรท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง  และปรับเปลี่ยนการผลิต ให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดย
    เร่งด่วน

ป่าพรุคันธุลี เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ   ตั้งอยู่ที่  อำเภอท่าชนะ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี    มีพื้นที่ประมาณ
875 ไร่      เดิมเป็นป่าพรุที่มีความอุดมสมบูรณ์
ต่อมาเมื่อปี พ
.. 2525   เกิดภัยแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน   และไฟป่าได้เผาไหม้ทำลาย
ป่าพรุเกือบร้อยละ
50 ของพื้นที่ หลังจากนั้น มีชาวบ้านเข้าไปจับจองพื้นที่เพื่อทำการเกษตร
ระยะหนึ่งจนดินหมดความอุดมสมบูรณ์พื้นที่จึงถูกทิ้งร้างและปล่อยให้ฟื้นตัวกลับคืนสภาพ
เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

ปัจจุบันป่าพรุคันธุลี   เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชท้องถิ่น   พืชสมุนไพร   และสัตว์ต่างๆ
หลายชนิด   อย่างไรก็ตาม ยังมีการบุกรุกพื้นที่ป่าพรุเพื่อทำประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
และมีนายทุน เข้ามาขอซื้อที่ดิน  จากชาวบ้านที่จับจองพื้นที่ป่าพรุ   เพื่อใช้ปลูกปาล์มน้ำมัน
และยางพารา  ทำให้ระบบนิเวศของป่าพรุคันธุลีถูกคุกคามมากขึ้น
   ดังนั้นจึงมีความจำเป็น
อย่างยิ่งในการเร่งดำเนินการศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์
ทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ป่าพรุคันธุลี ซึ่งมีความหลากหลาย เพื่อคงความเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย
ตามธรรมชาติ  และเพื่อเป็นแนวทางที่จะประยุกต์ใช้กับพื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยแห่งอื่นๆ ต่อไป

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: